www.pojjaman.com

กลยุทธ์และกรอบการทำงานของ จัดซื้อ 4.0

จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : 11,683


Loading

กลยุทธ์ของการ จัดซื้อ 4.0 ที่จะมาปฏิวัติองค์กร

กลยุทธ์และกรอบการทำงานของ จัดซื้อ 4.0 มันคือการปฏิวัติขั้นตอนการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการ รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบใหม่ๆออกมา ที่เกี่ยวข้องและเป็นแบบดิจิทัล  แนวคิดของ จัดซื้อ 4.0 เป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้น จัดซื้อควรจะอยู่ในทิศทางแบบใด สุดท้ายแล้วก็เป็นหน้าที่ขององค์กรที่ต้องหากลยุทธ์และทิศทางของตนเอง เพื่อรับมือกับความท้าทาย และโอกาสทางการจัดซื้อในอนาคต อย่างไรก็ดีองค์กรต้องคำนึงถึงถึงการเปลี่ยนแปลง ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อวิธีการทำงานขององค์กรในปัจจุบัน แต่รวมถึงข้อเสนอด้านคุณค่าทั้งหมดของการจัดซื้อที่มีต่อซัพพลายเออร์ ลูกค้า คู่ค้า ของกระบวนการภายในด้วย

ซึ่งเราจะมาพูดถึงกรอบการทำงานเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ที่จัดซื้อในยุคเทคโนโลยีแบบนี้จำเป็นจะต้องมี

กรอบการทำงานแบบใหม่ของ จัดซื้อ 4.0

  • ข้อเสนอทางด้านคุณค่าของการจัดซื้อแบบใหม่
  • การจัดซื้อบริการและประเภทของแบบดิจิทัล
  • การจัดการซัพพลายเออร์และห่วงโซ่อุปทานแบบดิจิทัล
  • การใช้ข้อมูลการจัดซื้อแบบสร้างสรรค์
  • เครื่องมือและกระบวนการแบบดิจิทัล
  • องค์กรและขีดความสามารถ

1. ข้อเสนอทางด้านคุณค่าของการจัดซื้อแบบใหม่

ผู้บริหารหรือหัวหน้าฝ่ายจัดซื้อจำเป็นจะต้องทำสิ่งใหม่ในบริบทของการ จัดซื้อ 4.0 และสร้างแนวคิดใหม่ในแง่ของการเพิ่มคุณค่าการจัดซื้อภายในบริษัท ฝ่ายจัดซื้อซึ่งมีหน้าที่หลักในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ สามารถรักษาหรือเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรได้โดยการค้นหาโอกาสใหม่ และสร้างโมเดลธุรกิจแบบใหม่จากหน่วยต้นทุนเป็นหน่วยงานสร้างกำไรแทน เนื่องจากฝ่ายจัดซื้อเป็นหน่วยงานที่มีความรู้เชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับซัพพลายเออร์และตลาด มีความเชี่ยวชาญเชิงลึกในสินค้าและบริการที่จัดซื้ออยู่เป็นประจำ และนอกจากนั้นยังสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลของลูกค้าเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานให้ดีขึ้น ทั้งเรื่องของการขนส่ง การจัดเก็บสินค้า การบริหารคลังสินค้า กระบวนการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและบริการ เป็นต้น และเพิ่มคุณค่าให้กับทุกหน่วยงานทั้งซัพพลายเออร์และลูกค้าด้วย  และองค์กรสามารถสร้างรายได้จากการนำข้อมูลการใช้งานของลูกค้าให้แก่ซัพพลายเออร์ เพื่อที่ซัพพลายเออร์จะได้นำข้อมูลไปปรับปรุงสินค้า ออกแบบและสร้างข้อกำหนดสินค้าให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยมีประสิทธิภาพและต้นทุนที่เหมาะสม

2. การจัดซื้อบริการและประเภทของแบบดิจิทัล

เทคโนโลยีใหม่ๆมักจะนำไปสู่ความต้องการใหม่ๆทางธุรกิจอยู่เสมอ เห็นได้จากความต้องการใหม่ของฝ่ายจัดซื้อ หนึ่งในความต้องการเหล่านี้ิจะถูกนำมารวบรวม วิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อมูลอย่างเรียลไทม์ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรม 4.0 ข้อมูลที่สำคัญๆจะถูกลงทะเบียนด้วยเซนเซอร์มากขึ้น และจะวิเคราะห์ในทันที คู่ค้าในห่วงโซ่คุณภาพสามารถใช้ข้อมูลได้ตามเวลาจริง นอกจากนี้ คน สิ่งของ และระบบจะเชื่อมถึงกันมากขึ้นโดยการสื่อสารข้อมูล เพื่อเปลี่ยนห่วงโซ่คุณค่าให้กลายเป็น “เครือข่ายคุณค่า” ที่ใหญ่ขึ้น องค์กรต่างๆไม่เปลี่ยนเพียงสิ่งที่เขาซื้อเท่านั้นเมื่อเข้าสู่ยุคของจัดซื้อ 4.0 แต่องค์กรต่างๆจะเปลี่ยนวิธีในการจัดซื้อด้วย เช่น จะจัดซื้อด้านบริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีแนวทางในการทำสัญญาแบบใหม่ๆ ที่มีความแตกต่างกันออกไปเพื่อให้มั่นใจได้ว่าองค์กรจะได้สิ่งที่ดี และคุ้มค่าที่สุดกับเงินที่จ่ายออกไป  นอกจากนี้ยังมีเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาและเรื่องการปฏิบัตตามกฎหมายเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของข้อมูลที่เซนเซอร์เก็บรวบรวมมา เมื่อผลิตออกมาถูกขายและนำไปใช้งาน และเป็นใครกันที่เป็นผู้มีสิทธิ์ในข้อมูลนี้ ผู้จำหน่ายเซนเซอร์ ผู้จัดหาระบบควบคุมซอฟต์แวร์ ผู้รวบรวมผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้า หรือว่าตัวลูกค้าเอง

3. การจัดการซัพพลายเออร์และห่วงโซ่อุปทานแบบดิจิทัล

ฝ่ายผลิตต้องการที่จะสามารถบูรณาการข้อมูลทั้งหมดจากลูกค้า ผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิตสินค้า และซัพพลายเออร์ได้อย่างเรียลไทม์ เพื่อปรับประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน ลดเวลาในการส่งมอบสินค้า และลดต้นทุนในการเก็บและขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพของซัพพลายเออร์ และประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ผู้ให้บริการ ERP จะทำการผสานระบบ ERP กับระบบการผลิต การขนส่งสินค้าจากคู่ค้าทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานที่กำหนดไว้ เมื่อการรวบรวมข้อมูลการจัดซื้อ 4.0 นี้เกิดขึ้น ฝ่ายจัดซื้อจะมีบทบาทสำคัญในการนำซัพพลายเออร์เข้าสู่ระบบ และเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจร การรวบรวมข้อมูลก็สามารถเปลี่ยนการบริหารจัดการซัพพลายเออร์ได้อย่างมาก ตัวอย่างหนึ่งที่ดีคือการบริหารความเสี่ยงของซัพพลายเออร์ องค์กรสามารถใช้การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งข้อมูลลูกค้า การเงิน เพื่อคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในการจัดอันดับความเสี่ยง ซึ่งจะมีทางเลือกเพิ่มเติมในการป้อนข้อมูลเพื่อแปลงแปลงอันดับเครดิตของระบบการบริหารความเสี่ยงของซัพพลายเออร์โดยอัตโนมัติ

4. การใช้ข้อมูลการจัดซื้อแบบสร้างสรรค์

การวิเคราะห์ข้อมูลน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดซื้อ 4.0 เทคโนโลยีและอัลกอรึทึมอัจฉริยะจะช่วยให้รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมหาศาลจากหลายๆที่ และผลวิเคราะห์นี้ทำให้เข้าใจซัพพลายเออร์ ตลาด และลูกค้ามากขึ้น และสามารถคาดการณ์แนวโน้มของตลาด ตรวจสอบความผิดพลาดของการทำงานของเครื่องจักรและสินค้า สามารถทำให้นายจ้างตัดสินใจได้ดีขึ้นจากข้อมูลที่ได้รับ และบางกรณียังสามารถทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้อย่างอัตโนมัติด้วย  การวิเคราะห์และการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาดเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรต่างๆ ต้องการได้ประโยชน์จากการจัดซื้อ 4.0 อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซัพพลายเออร์จะได้การวิเคราะห์ข้อมูลในงานจริงเพื่อนำไปปรับปรุงและออกแบบสินค้าของตัวเองให้มีประสิทธิภาพ

5. เครื่องมือและกระบวนการแบบดิจิทัล

เทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดความร่วมมือและทำงานร่วมกันในฝ่ายจัดซื้อ ใช้เครื่องมือที่หลากหลายตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การวางแผน การจัดหา ไปจนถึงการเจรจาสัญญา การสั่งซื้อ การชำระเงิน และการจัดการซัพพลายเออร์ เทคโนโลยีมีความสมบูรณ์และมีผลกระทบที่แตกต่างกัน องค์กรจึงต้องศึกษาและวางกลยุทธ์อย่างรอบคอบ และปฏิบัติตามโรดแมพที่วางไว้ ซึ่งกระบวนการจัดซื้อแบบดิจิทัลที่ต้องมี ได้แก่ การขอใบเสนอราคาแบบดิจิทัล การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินของซัพพลายเออร์ การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดซื้อ การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงความร่วมมือด้านเครือข่ายการจัดซื้อระบบดิจิทัล การลงทุนนี้จะนำไปสู่กระบวนการอัตโนมัติ และการทำงานด้วยมือจะลดลง  ทุดท้ายแล้วประโยชน์ที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากการลดต้นทุนเท่านั้น แต่รวมถึงการปลดปล่อยทรัพยากรที่มีคุณภาพให้หลุดพ้นจากงานจัดซื้อที่น่าเบื่อ ซ้ำซาก ทำให้บุคคลากรมีเวลาใส่ใจในการส่งมอบคุณค่าให้แก่ธุรกิจ

6. องค์กรและขีดความสามารถ

องค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการในกรอบทำงานนี้อาจจะไม่สำคัญกับทุกองค์กรแต่ก็สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อวิธีการทำงานของการจัดซื้อ ซึ่งองค์กรต่างๆอยากคิดใหม่ในเรื่องขององค์กรและขีดความสามารถ ซึ่งต้องถูกปรับเมื่อเวลาผ่านไป อย่างเช่น องค์กรต้องสร้างโปรไฟล์งานใหม่ๆไม่ว่าจะเป็น ผู้ซื้อสินค้าประเภทใหม่ๆ ผู้มีความรู้เกี่ยวกับการทำสัญญาทรัพย์สินทางปัญญา หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และค้นหาข้อมูล ในการหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตรทางด้านจัดซื้อ เช่นมหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย รวมทั้งเครือข่ายสังคม องค์กรขนาดใหญ่ควรจัดตั้งหน่วยจัดซื้อในองค์กรเพื่อจัดสัมมนา ฝึกอบรมข้ามสายงาน และการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับซัพพลายเออร์ พนักงานจัดซื้อที่มีความสามารถแบบดิจิทัลจะทำให้องค์กรจะได้รับประโยชน์เต็มที่จากโอกาสที่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล

การ จัดซื้อ 4.0 คือการการพัฒนาการกำหนดคุณค่าใหม่ และการตอบสนองความต้องการใหม่ๆของลูกค้า การรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าทุกหน่วยงาน และห่วงโซ่คุณค่าต่างๆ แล้วข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในเชิงรุกอย่างชาญฉลาด ในขณะเดียวกันก็แนะนำกระบวนการและเครื่องมือดิจิทัล และสิ่งที่สำคัญที่สุดต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรจัดซื้อ และมีความสามารถในการรับมือกับความท้าทายและโอกาสการปฏิวัติดิจิทัลระดับโลก

“พจมาน 2” ชวน ฝ่าย ” จัดจ้าง” บริษัทรับเหมาก่อสร้าง มาลับคม อัพเลเวลสุดยอดเทคนิคเรื่องจัดจ้าง และ SRM

— สัมมนา ฟรี !! —

⚡ เจาะลึกถึงแก่นและกลยุทธ์ “จัดจ้าง”

⚡ จัดจ้าง เรื่องง่ายๆ จัดการได้ด้วย “พจมาน 2”

⚡ สุดยอดกลเม็ดการบริหารความสัมพันธ์คู่ค้าในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (SRM)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

✨ สมัครด่วน รับจำนวน 50 ที่นั่งเท่านั้น ✨


อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ที่นี่เลยค่ะ ^^

พจมาน 2 คืออะไร

“พจมาน 2” โปรแกรมบริหารงานก่อสร้างที่ตอบโจทย์ทุกฝ่าย

ทำไมต้อง “พจมาน 2”

ปรับแนวคิด เดินหน้าธุรกิจรับเหมาด้วย โปรแกรมบริหารงานก่อสร้าง

อ่านบทความทั้งหมด คลิกเลย

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://bit.ly/2Qm9kw8

X