www.pojjaman.com

จับตา “EEC” Mega Project ความหวังใหม่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : 1,428


EEC โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ทศวรรษสิ่งที่ขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้นั้น สิ่งสำคัญมาจากการบริหารจัดการโครงสร้างที่ดีของประเทศและแรงหนุนจากต่างประเทศ โดยรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศไทยได้มาจากการทำอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้ทำการจัดตั้ง EEC (Eastern Economic Corridor) หรือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยในระยะแรกจะเป็นการยกระดับพื้นที่ในเขต 3  จังหวัดคือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทำให้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาโครงการใหญ่หรือ Mega Project เกิดขึ้นอีกครั้งเพื่อรองรับการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง Mega Project เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนประเทศอีกแรงหนึ่ง ซึ่งสถานการณ์ในปี 2562 ปัจจุบันนี้ คณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการไปถึงขั้นไหนแล้วเรามาติดตามกันจ้า><

คณะรัฐมนตรีมีมติให้อนุมัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 5 โครงการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ( EEC ) และมีมติอนุมัติมูลค่าลงทุนทั้ง 5 โครงการ รวมกันทั้งสิ้น 650,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะได้เอกชนผู้ลงทุนในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาจริงก็ต้องมีการเลื่อนการยื่นข้อเสนอของภาคเอกชนไปอีกในเดือนถัดไป รายละเอียด ดังนี้

1.โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (Aerotropolis)

โครงการท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งได้ให้เอกชนเข้าร่วมทุนในการพัฒนา และสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกได้เปิดให้ใช้บริการสนามบินผู้โดยสารบางส่วน ในส่วนที่ 2 และจะทำการเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในเดือนมีนาคมนี้ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้สามล้านคนต่อปี จากนั้นจะขยายสู่เมืองการบินภาคตะวันออกภายใต้การดูแลของคณะกรรมการ EEC โดยกำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งมูลค่าโดยรวมของโครงการคาดการณ์อยู่ที่ 200,000 ล้านบาท และคาดว่าได้ผู้ผ่านการประเมินในกลางเดือนเมษายน 2562

2.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา)

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่พัฒนาจากโครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ซึ่งจะก่อสร้างสองส่วนจากสถานีจากสถานีพญาไทไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา และทำการเชื่อมโยงการเข้าออกสนามบินโดยใช้ทางเดิมของการรถไฟฯเป็นส่วนใหญ่ มีระยะทางรวม 220 กิโลเมตร

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้ผู้ผ่านการประเมินข้อเสนอแล้ว คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัทเจริญ โภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งมูลค่าโดยรวมของโครงการคาดว่าอยู่ที่ 224,544 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา)ภายในปี 2566

3.โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (เฟส 3)

โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (เฟส 3) เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เพื่อรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี  มีกำหนดประกาศผู้ผ่านการประเมินในเดือนมีนาคม 2562 นี้ และเปิดการดำเนินการในปี 2568 โดยใช้พื้นที่ทั้งหมด 1,000 ไร่ แต่ใช้พื้นที่จริงเพียง 550 ไร่ อีก 450 ไร่จะเป็นพื้นที่หลังท่าเพื่อการขุดลอกและถมทะเลลึกประมาณ 16 เมตร หากสามารถดำเนินการแล้วเสร็จโครงการนี้จะสามารถรองรับสินค้าปิโตรเคมีและก๊าซธรรมชาติผ่านท่อได้เพิ่มขึ้น 19 ล้านตันภายใน 20 ปีข้างหน้า

4.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (เฟส 3)

โครงการพัฒนาท่าเรือนี้เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือเพื่อรองรับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตในการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ซึ่งจะก่อสร้างท่าเทียบเรือสำหรับจอดเรือน้ำลึก และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ  

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (เฟส 3) ได้มีเอกชนยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวแต่ไม่ผ่านคุณสมบัติ ทำให้จะมีการยื่นข้อเสนอใหม่ในวันที่ 29 มีนาคม 2562 นี้ คาดว่าจะได้ผู้ผ่านการประเมินในเดือนเมษายนและทำการเปิดดำเนินงานในปี 2566

5.โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา

หนึ่งในโครงการสำคัญของเขตการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC  ก็คือโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา เป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านการซ่อมบำรุง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการบินโดยรวมของประเทศ ซึ่งสามารถรองรับการซ่อมบำรุงเครื่องบินใหญ่ลำตัวกว้างได้พร้อมกันถึง 3 ลำ รองรับการซ่อมบำรุงระดับลานจอดได้สูงสุดถึง 70 เที่ยวบินต่อวัน

โดยโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภาจะทำการเปิดซองข้อเสนอจากบริษัท แอร์บัส เอสเอเอสในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 และทำการประเมินข้อเสนอแล้วเสร็จภายในเดือนเดียวกัน พร้อมเปิดดำเนินการในปี 2565

นอกจาก 5 โครงการที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีโครงการลงทุนก่อสร้างอื่นๆของภาครัฐปี 2562 อีกหลายโครงการ สามารถคาดการณ์มูลค่าและพื้นที่ได้รับผลประโยชน์ดังนี้

                โครงการ   มูลค่า

(ล้านบาท)

  พื้นที่ได้รับผลประโยชน์
รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา 179,412 กรุงเทพ-สระบุรี-นครราชสีมา
รถไฟฟ้าสายสีเขียวแก่ ช่วงสมุทรปราการ-บางปู    13,000 กรุงเทพ-สมุทรปราการ
รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ 140,000 กรุงเทพ
ทางหลวงหมายเลข 101 และ 102 กำแพงเพชร-สุโขทัย-อุตรดิตถ์   5,920 กำแพงเพชร-สุโขทัย-อุตรดิตถ์
ทางหลวงหมายเลข 4 ระนอง-พังงา-กระบี่     1,400 ระนอง-พังงา-กระบี่
ทางหลวงหมายเลข 201 เลย-เชียงคาน      800 เลย
ทางหลวงหมายเลข 317 จันทบุรี สระแก้ว   2,570 จันทบุรี สระแก้ว
ทางหลวงหมายเลข 212 นครพนม-หนองคาย   1,050 นครพนม-บึงกาฬ-หนองคาย
โครงการถนนรองรับ EEC  18,490 พื้นที่ EEC
รถไฟรางเบา ภูเก็ต  24,000 ภูเก็ต
รถไฟทางคู่ เฟสที่ 2 419,806 ครอบคลุมระบบรางหลักทั่วประเทศ
ท่าเรือบกขอนแก่น    2,000 ขอนแก่น

สำหรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ( EEC ) ที่เป็นรูปธรรมและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประเทศไทย ที่จะทำให้ประเทศมีศักยภาพทางด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น และเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น สามารถดึงดูดนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เกิดความต้องการที่จะลงทุนมากขึ้น และข้อมูลล่าสุดพบว่าประเทศญี่ปุ่นและจีนเชื่อมั่นในโครงการนี้อย่างมากจึงคาดว่าจะมาลงทุนในประเทศไทยอย่างแน่นอน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชนหรือภาคเอกชนรายย่อยเอง ก็ควรมีการปรับตัวทั้งทางด้านเทคโนโลยี แรงงานกระบวนการผลิต หรือการปรับเปลี่ยนองค์กรให้ก้าวเข้าสู่ระดับสากลมากขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในครั้งนี้ไปพร้อมๆกัน

โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ถือเป็น Mega project ที่จะพัฒนาศักญภาพของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้รับเหมาทั้งภาครัฐและเอกชนจะได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างและมีโอกาสในการทำงานโครงการก่อสร้างมากขึ้น ดังนั้นผู้รับเหมาเองควรเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นจากโครงการขนาดใหญ่นี้  ต้องเพิ่มศักยภาพในการทำงานโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานให้มากขึ้น อย่างพจมาน 2 โปรแกรมบริหารงานก่อสร้าง ที่ช่วยให้ผู้รับเหมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ และรวดเร็ว ควบคุมต้นทุนก่อสร้างอย่างมีระบบ ประสานงานในองค์กรณ์ได้อย่าง Real-time และสะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ที่นี่เลยค่ะ ^^

พจมาน 2 คืออะไร

“พจมาน 2” โปรแกรมบริหารงานก่อสร้างที่ตอบโจทย์ทุกฝ่าย

ทำไมต้อง “พจมาน 2”

ปรับแนวคิด เดินหน้าธุรกิจรับเหมาด้วย โปรแกรมบริหารงานก่อสร้าง

อ่านบทความทั้งหมด คลิกเลย

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.thaipost.net/main/detail/11483 , https://pantip.com/topic/38376603 , https://www.eeco.or.th/  , https://bit.ly/2HeMO7S 

X