www.pojjaman.com

การสร้างความปลอดภัยในงานรับเหมาก่อสร้าง

จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : 9,240


Loading

 

การสร้างความปลอดภัยในงาน รับเหมาก่อสร้าง

งาน รับเหมาก่อสร้าง ของไทยในปัจจุบันถือว่ามีการพัฒนา และเพิ่มปริมาณขึ้นมากกว่าเดิม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับการทำ รับเหมาก่อสร้าง ก็คือ อุบัติเหตุ นั่นเอง ซึ่งอุบัติเหตุนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกำหนด หรือทราบก่อนล่วงหน้าได้  และการเกิดอุบัติเหตุในงาน รับเหมาก่อสร้าง แต่ละครั้งสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตละทรัพย์สินอย่างมากมาย ในปัจจุบันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และยังมีคนงานอีกมากมายที่ยังต้องเสี่ยงอันตรายจากการก่อสร้าง ดังนั้นการป้องกันอุบัติเหตุและลดความเสี่ยงจากอันตรายในงานก่อสร้างจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกคนควรตระหนักและปฏิบัติกันอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นบ่อย

สาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุ

การเกิดอุบัติเหตุเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

1.การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) ซึ่งเกิดจากการปฏิบัติงานของคนงานที่ไม่นึกถึงความปลอดภัย และอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากส่วนนี้เป็นหลัก ซึ่งผู้มีส่วนรับผิดชอบก็คือ  หัวหน้างานและก็ตัวของคนงานเอง เช่น การใช้เครื่องจักร และเครื่องมือทำงานโดยพลการ แล้วไม่เข้าใจวิธีการใช้อย่างถ่องแท้ ไม่อ่านคำเตือน และมีพฤติกรรมที่ประมาทขณะใช้เครื่องมือ เป็นต้น

2.สภาพของการทำงานที่ไม่ปลอดภัย  (Unsafe Conditions) แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

     2.1ลักษณะของงานก่อสร้าง เช่น อาคารขนาดเล็กอาจมีปัญหาการพลัดตกจากที่สูง นั่งร้านพัง วัสดุตกใส่คนงาน  ,อาคารขนาดใหญ่อาจมีปัญหาดินถล่มขณะที่กำลังก่อสร้างชั้นใต้ดิน ค้ำยันพัง , อาคารที่กำลังก่อสร้างที่ใช้ปั้นจั่นยกอาจมีปัญหาจากการใช้ลวดสลิงไม่ถูกวิธี ลวดสลิงขาด ปั้นจั่นเหวี่ยงถูกคนหรือสิ่งก่อสร้าง

     2.2สภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น สภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งการทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดัง มีความสั่นสะเทือนสูง มีฝุ่นและควันจำนวนมาก  มีแสงจ้าเกินปกติ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงควรใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำงานให้เหาะสมกับงานนั้นๆเพื่อลดอุบัติเหตุ

3.ภัยจากธรรมชาติ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อทรัพย์สินและอันตรายต่อชีวิต

     3.1ฟ้าผ่า ซึ่งงานก่อสร้างที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าก็คือ อาคารสูงหรือโครงการก่อสร้างที่เป็นที่โล่งแจ้ง ควรมีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับป้องกันฟ้าผ่าชั่วคราวให้เหมาะสมกับพื้นที่

     3.2น้ำท่วม ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในฤดูฝนหรือฤดูน้ำหลาก  ควรมีเครื่องมือป้องกันหรือสร้างคันกั้นน้ำ และมีเครื่องสูบน้ำเตรียมพร้อมไว้เสมอ

4.การทำงานในสภาพภูมิประเทศที่มีความยากลำบาก เช่น พื้นที่ราบลุ่มหรือมีความชัน ต้องมีการตรวจสอบลักษณะภูมิประเทศ คุณสมบัติของดิน เพื่อที่จะได้วางแผนการปฏิบัติงานและและเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับการใช้งาน

5.อันตรายที่เกิดจากแบบรูปและรายการก่อสร้าง ซึ่งรูปแบบที่ผิดพลาด ไม่มีความชัดเจน มีรายการประกอบแบบที่คลุมเครือ หรือไม่ละเอียดมากพอ เป็นปัญหาที่สำคัญเพราะมันจะทำให้การทำงานหยุดชะงักเพื่อที่จะแก้แบบ หรือเกิดอันตรายจากการทำงานตามแบบที่ผิดพลาด

การสร้างความปลอดภัยในงานรับเหมาก่อสร้าง

องค์ประกอบของความปลอดภัยในงาน รับเหมาก่อสร้าง

งานรับเหมาก่อสร้างถือเป็นงานที่มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีกระบวนการมากมาย และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีองค์ประกอบอยู่หลายอย่าง สามารถแบ่งออกเป็น3ส่วนดังนี้

            ความปลอดภัย ในสถานที่

สถานที่ หมายถึง พื้นที่บริเวณเขตก่อสร้างทั้งหมด ทั้งเป็นพื้นที่ก่อสร้าง ที่เก็บวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงต้องมีข้อกำหนดให้ปฏิบัติในสถานที่ก่อสร้างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย ดังนี้

-ทำรั้วกั้นโดยรอบบริเวณก่อสร้างทั้งหมด เป็นการป้องกันคนนอกไม่ให้เข้าในพื้นที่ก่อสร้าง และถ้าหากเป็นอาคารสูงก็ควรทำหลังคาคลุมทางเดินไว้ป้องกันไม่ให้เศษวัสดุหรือสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายตกลงมาใส่ผู้อื่นขณะที่เดินผ่าน รวมทั้งรอบตัวอาคารควรมีแผ่นกั้นกันวัตถุตกลงมาและมีตาข่ายคลุมอีกชั้นด้วย

-สำหรับในสถานที่ก่อสร้างเองควรแบ่งเขตต่างๆไว้อย่างชัดเจน เขตที่พัก เขตก่อสร้าง เขตเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ

-ทำป้ายเตือนในสถานที่ที่เป็นอันตราย โดยแสดงข้อความหรือสัญลักษณ์อย่างชัดเจน มองเห็นได้ และเข้าใจง่าย

            ความปลอดภัย ของเครื่องมือเครื่องจักร

เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างนั้นมีมากมายหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กอย่าง สว่าน ค้อน จนถึงขนาดใหญ่อย่าง ปั้นจั่น รถยก เป็นต้นอันตรายจากเครื่องมือพวกนี้จึงมีมาก  ดังนั้นการใช้งานเครื่องมือเครื่องจักรที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

-การใช้เครื่องมือเครื่องจักรอย่างถูกวิธี เพราะหากใช้ผิดวัตถุประสงค์ของงานนอกจากจะทำให้เครื่องจักรนั้นๆเสื่อมสภาพเร็วแล้วยังอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อีกด้วย เช่น การใช้ลิฟต์ในการขนส่งวัสดุขึ้นลงมาใช้ขนส่งคนงานแทน

-เครื่องมือเครื่องจักรที่ต้องใช้ไฟฟ้า หรือใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ข้อควรปฏิบัติคือต้องมีการเดินสายไฟอย่างปลอดภัย มีฉนวนหุ้มตลอด หากทำงานใกล้บริเวณที่มีไฟฟ้าหรือ บริเวณที่เก็บเชื้อเพลิงห้ามจุดไฟหรือสูบบุหรี่เด็ดขาด

-เครื่องมือเครื่องจักรที่สำคัญควรมีการ์ดรักษาความปลอดภัย ห้ามเปิด หรือโยกย้ายโดยพลการ

-ทั้งก่อนและหลังการใช้งานควรมีการตรวจสภาพของเครื่องจักรทุกครั้ง หากเครื่องจักรชำรุดควรซ่อมแซมให้เสร็จเรียบร้อยเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

            ความปลอดภัย ส่วนบุคคล

งานก่อสร้างต้องอาศัยคนเป็นหลัก ดังนั้นอันตรายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จึงเกิดจากคน ทั้งผู้คุมงานและคนงาน ซึ่งการควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุนั้น ผู้ควบคุมงานและคนงานจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด

-การแต่งกายของคนงานต้องรัดกุมและสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ ไม่ใส่รองเท้าแตะเพราะอุปกรณ์อาจตกใส่เท้า ได้

-ควรใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นหมวกนิรภัย ถุงมือยาง รองเท้า และเข็มขัดสำหรับคนที่ทำงานบนที่สูง

– ไม่ดื่มสุรา และของมึนเมา ไม่เล่นหรือหยอกล้อกันในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงได้

-จัดอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานได้ตระหนักถึงอันตราย และวิธีการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องปลอดภัย มีกฎระเบียบและข้อบังคับอย่างชัดเจน

-มีการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับคนงานเพื่อทดสอบความแข็งแรงของร่างกาย และความพร้อมของร่างกายในการทำงาน

-ในพื้นที่ก่อสร้างควรมีหน่วยปฐมพยาบาล และหน่วยฉุกเฉินไว้สำหรับช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุอันตรายต่างๆ

 

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ที่นี่เลยค่ะ ^^

พจมาน 2 คืออะไร

“พจมาน 2” โปรแกรมบริหารงานก่อสร้างที่ตอบโจทย์ทุกฝ่าย

ทำไมต้อง “พจมาน 2”

ปรับแนวคิด เดินหน้าธุรกิจรับเหมาด้วย โปรแกรมบริหารงานก่อสร้าง

อ่านบทความทั้งหมด คลิกเลย

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=258&pageid=15&read=true&count=true

http://www.oshthai.org/index.php?option=com_content&view=article&id=182:-m—m-s&catid=16:safety-in-construction&Itemid=197

X