www.pojjaman.com

พลิกวงการรับเหมา ก่อสร้าง ด้วยเทคโนโลยีสุดเจ๋ง

จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : 1,021


Loading

ปัจจุบัน เทคโนโลยี และเทคนิคที่นำมาใช้ในการ ก่อสร้าง มีอย่างมากมาย และการออกแบบก่อสร้างก็อาศัย เทคโนโลยี เข้ามาช่วยมากขึ้นเช่นกัน วัสดุก่อสร้างใหม่ๆก็มีการวิจัยกันอยู่เรื่อยๆ การนำวัสดุต่างๆมาผสานเทคโนโลยีการก่อสร้าง ก็ช่วยให้วัสดุหรืออาคารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบสนองการใช้งานมากขึ้น และลดปัญหาทางการก่อสร้างได้จริง และในทุกวันนี้ทุกอย่างเป็นดิจิทัลเกือบจะทั้งหมด ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ก็ต้องการความรวดเร็วมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาเครื่องมือใหม่ๆ และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในด้านก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยี ก่อสร้าง ที่จะมีประโยชน์ในอนาคต 10 อย่าง

1. คอนกรีตซ่อมแซมตัวเอง (Self-healing Concrete)

ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุ ก่อสร้าง ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีส่วนในการปล่อยคาร์บอไดออกไซด์มากเช่นกัน นักวิจัยจากประเทศต่างๆกำลังพัฒนาคอนกรีตที่สามารถเยียวยารอยแตกของตัวเองได้ โดยใช้คอนกรีตผสมสารเคลือบแบบใหม่บางตัวเข้ากับไมโครแคปซูล ซึ่งเมื่อรูปแบบแตกตัวแคปซูลจะแตกและปล่อยสารเจลผสมกันกับน้ำหรืออากาศและจะทำปฏิกริยาผสานเนื้อคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถซ่อมแซมตัวเองได้จากรอยแตกร้าว การผลิตคอนกรีตจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดังนั้นการยืดอายุของของกรีตไม่เพียงแต่ทำให้โครงสร้างปลอดภัยขึ้น แต่เป็นการลดแก๊สเรือนกระจกได้ด้วย และรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

2. การพิมพ์ 3 มิติ (3D Printed Houses)

บริษัทก่อสร้างของจีนที่ตั้งอยู่เซี่ยงไฮ้ ได้สร้างประวัติศาสตร์ก่อสร้างบ้านด้วยความเร็วสูงโดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้สเปรย์ซีเมนต์และของเสียจากงานก่อสร้างเพื่อสร้างบ้าน แม้งบประมาณของเครื่องพิมพ์3มิติจะมีราคาที่สูงแต่คุ้มค่ามาก ทั้งประหยัดเวลาลงเหลือเพียงไม่เกิน 1 วันเท่านั้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้เป็นพันๆเปอร์เซนต์ จนเหลือบ้านราคาไม่ถึง 1 ล้านบาท และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะวัสดุที่นำมาใช้เป็นซากจากการรื้ออาคาร ที่นำมาแปรรูปให้เป็นวัสดุแล้วนำกลับมาใช้ในการก่อสร้างใหม่ และยังสามารถก่อสร้างบ้าน10หลังให้เสร็จได้ภายในวันเดียว โดยบ้านแต่ละหลังมีขนาด 200 ตารางเมตร หากคำนวณเล่นๆ ใช้เวลาก่อสร้างเฉลี่ยเพียงหลังละ 2 ชั่วโมง 40 นาทีเท่านั้น

3. Robot Swarm Construction

ปัญหาเรื่องแรงงานก่อสร้างในปัจจุบันค่อนข้างส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละประเทศ Kirstin Petersen จึงพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อแก้ไขปญหาในวงการก่อสร้าง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากปลวก นักวิจัยจาก Harvard’s Self-Organization System Research Group ได้สร้างหุ่นยนต์ก่อสร้างขนาดเล็กที่ทำงานเป็นฝูง ในการทำงานด้วยทิศทางของเทคโนโลยีที่เรียกว่าTERMES แทนการปฏิบัตตามคำสั่งจากผู้ควบคุม หุ่นยนต์จะอาศัยแนวคิดที่เรียกว่า Stigmergy เป็นการสื่อสารผ่านกันเองโดยวิธีการสังเกตการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของผู้อื่น หุ่นยนต์สี่ล้อสามารถสร้างกำแพงอิฐ โดยการยกอิฐแต่ละตัวปีนกำแพงและวางอิฐในจุดที่เปิดอยู่  มีเซนเซอร์เพื่อตรวจจับการทำงานของหุ่นยนต์อื่นๆ และทำงานแยกออกจากกันโดยที่ไม่ต้องมาควบคุม เหมือนกับปลวกนั่นเอง

4. ท่อนาโนคาร์บอน (Carbon Nanotubes)

ท่อนาโนคาร์บอน หรือ CNTs (Carbon Nanotubes) เป็นวัสดุสงเคราะห์โครงสร้างนาโนที่ได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ เพราะมีคุณสมบัติที่หลากหลายที่จะใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต คือมีความแข็งแกร่งมากกว่าเหล็กเกินกว่า 60 เท่า มีขนาดเล็กและเบามาก มีความยืดหยุ่นสูง สามารถทนต่อแรงดึงมากกว่าเหล็กถึง 20 เท่า จึงมีการนำมาใช้เป็นวัสดุเสริมแรงในผลิตภัณฑ์หลายชนิด มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าคือสามารถเป็นได้ทั้งสารกึ่งตัวนำ และเป็นตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด โดยขึ้นกับกระบวนการสงเคราะห์จัดเรียงของอะตอมคาร์บอน จึงได้นำมาใช้งานในการผลิตทรานซีสเตอร์ที่มีความเร็วสูง มีความต้านทานต่ำมาก รวมทั้งมีการพัฒนาที่จะนำไปใช้แทนโลหะด้วย ส่วนในอนาคตอาจจะเข้ามามีบทบาทกับมนุษย์มากขึ้น เพราะจะนำมาใช้ในร่างกาย อย่างกระดูก ข้อต่อร่างกายและเป็นตัวนำยาเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ ในด้านสิ่งแวดล้อมก็นำมาใช้ในการบำบัดน้ำ กำจัดสารพิษในสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

5. กระเบื้องที่มีปฏิกิริยาทางอุณหภูมิ (Temperature-Reactive Tiles)

กระเบื้องแก้วเปลี่ยนสีตามอุณหภูมิพื้นผิวเป็นเทคโนโลยีที่ผลิตโดยบริษัท Moving Color เมื่อกระเบื้องอยู่ในอุณหภูมิห้องปกติจะเป็นสีดำมันวาว แต่เมื่อสัมผัสกระเบื้อง หรือ เมื่อกระเบื้องโดนความร้อน สัมผัสวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงจะเปลี่ยนเป็นสีสเปกตรัม และจะให้สีที่ไม่ซ้ำกันขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสิ่งที่สัมผัส กระเบื้องนี้ถูกออกแบบมาโดยเลียนแบบปรากฎการณ์แสงเหนือที่อลาสก้า เมื่อโดนความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง หากร้อนไม่มากจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง หากร้อนมากเป็นพิเศษจะเป็นสีฟ้าและสีน้ำเงิน และไอเดียสุดเจ๋งจะทำเป็นห้องน้ำ ก็จะทำให้การอาบน้ำมีสีสันมากขึ้น

6. ฉนวนกันความร้อนแอโรเจล (Aerogel Insulation)

แอโรเจล (Aerogel) เป็นวัสดุเนื้อพรุนที่มีน้ำหนักเบามาก เป็นของแข็งที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับวัสดุแก้วที่เป็นของแข็งที่ทำจากซิลิกอนเหมือนกันแล้ว ซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าแก้วถึงพันเท่า และยังเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุดอีกด้วย ภายในโครงสร้างที่เป็นรูพรุนขนาดเล็กระดับนาโนเมตรจำนวนมาก (มากกว่า90%)  ทำให้การถ่ายเทความร้อนผ่านแอโรเจลเกิดขึ้นได้ช้าหรือน้อยมาก

แอโรเจลยังใช้เป็นส่วนผสมในวัสดุที่ต้องการให้มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆอีก เช่น ความเป็นฉนวนดีกว่า PU โฟมเพราะค่าการนำความร้อนต่ำมาก, เป็นฉนวนกันเสียงคุณภาพสูง, กันน้ำ, ไม่ดูดความชื้น, ใช้งานได้ทั้งอุณหภูมิต่ำและอุณหภูมิสูง, ไม่ติดไฟ, น้ำหนักเบา, ใช้เคลือบพื้นผิววัสดุเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นพื้นผิวที่สามารถทำความสะอาดตัวเองได้ (Self-cleaning surface) ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น  และปัจจุบันก็ได้มีการนำเอาแอโรเจลมาประยุกต์ใช้งานอย่างหลากหลายรูปแบบ และใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการก่อสร้าง

7. คอนกรีตพรุน (Permeable Concrete)

ปัญหาที่ยังพบอยู่เมื่อฝนตกหนัก คือ น้ำท่วม ระบายน้ำไม่ทัน  การออกแบบระบบระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมก้มีบทบาทมากขึ้น  ซึ่งPermeable Concrete หรือคอนกรีตพรุน คือ คอนกรีตมวลเบาที่มีลักษณะพิเศษสามารถดูดซับน้ำได้ เพราะภายในเนื้อคอนกรีตมีช่องว่างอากาศในคอนกรีตมาก มีความโปร่ง มีช่องว่างที่ยอมให้อากาศหรือน้ำไหลผ่านได้ ทำให้ระบายได้ดี ไม่กักน้ำไว้ ซึ่งสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลันได้เป็นอย่างดี และเนื่องจากมีที่ว่างในเนื้อคอนกรีตที่พรุนจึงทำให้เบาและกำลังต่ำกว่าคอนกรีตทั่วๆไป ข้อดีเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนปลอดภัยยิ่งขึ้น การทำงานคือน้ำไหลผ่านช่องที่เป็นรูพรุนของคอนกรีต และยังนำไปใช้งานด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมได้อย่างหลากหลาย เช่น คอนกรีตทางเดินเท้า ลานจอดรถ พื้นสนามเทนนิส เป็นต้น ความพรุนในเนื้อคอนกรีตช่วยเก็บเสียง ระบายความร้อนได้ดี ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้

8. อลูมิเนียมโปร่งใส (Transparent Aluminum)

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี สามารถผลิตอลูมิเนียมแบบไสได้จริงแล้ว ซึ่งผลิตมาจาก Aluminum-based ceramic ชื่อว่า Aluminum Oxynitride หรือที่เรียกว่า “ALON” และอลูมิเนียมใสขนาด 3.7 นิ้ว มีความทนทานที่สามารถหยุดกระสุนปืนขนาด 0.50 ได้ เมื่อเทียบกับกระจกลามิเนตที่ความหนาเท่ากันก็ยังทำไม่ได้ เนื่องจากวัสดุมีราคาแพงมาก จึงถูกนำไปใช้ทางการทหารเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยนำ AION ใช้ทำกระจกนิรภัย เลนส์สำหรับอุปกรณ์ใช้ในสนามรบ และ  “Seeker domes” กระจกใสทรงโค้งป้องกันเซนเซอร์ต่างๆ ที่ติดไว้ที่หัวของจรวดมีสไซล์

9. ถนนอัจฉริยะ (Smart Roads)

รถยนต์ไฟฟ้าที่วิ่งบนถนนจริงนั้นยังมีจำนวนน้อยอยู่ เพราะผู้ใช้มีความกังวลที่ว่าแบตเตอรี่รถยนต์อาจหมดกลางทาง แนวคิดใหม่จึงเกิดขึ้น ก็คือ ถนนที่ทำหน้าที่เป็นที่ชาร์จไฟสำหรับยานพาหนะไฟฟ้า ซึ่งบริษัทแห่งหนึ่งในนิวซีแลนด์ได้สร้าง “Power Pad” ขนาดใหญ่ไว้เพื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่จอดอยู่แบบไร้สาย และทำการฝังเทคโนโลยีการชาร์จแบบไร้สายไว้ในถนนจริงๆ เพื่อให้ยานพาหนะไฟฟ้าสามารถชาร์จไฟได้ขณะที่เราเดินทางหรือขับรถอยู่ โดยไม่ต้องมีสถานีเติมเชื้อเพลิงอีกต่อไป

แนวคิดของถนนอัจฉริยะในอนาคตที่น่าสนใจด้านอื่นๆได้แก่ พื้นผิวถนนที่สามารถดูดซับแสงแดดเพื่อนำไปสร้างกระแสไฟฟ้า หรือถนนที่ฝังด้วย Piezoelectric crystals ที่สามารถตรวจการสั่นสะเทือนของการขับรถผ่านและแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ และอีกหน่อยคงไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ที่ติดแผงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ หรือสถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอีกแล้ว ถ้าเรามี Smart Roads ถนนที่สามารถให้พลังงานไฟฟ้าแก่รถยนต์ไฟฟ้าได้แบบไร้สาย

10. คาร์บอนไดออกไซต์ (CO2)

การใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งต่างๆ อาทิเช่น โรงไฟฟ้า รถยนต์ และอุตสาหกรรม ทำให้ทุกๆปีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)มีปริมาณเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกและเกิดเป็นภาวะโลกร้อนอีก ซึ่งรัฐบาลของประเทศต่างๆ และนักเคมีก็สนใจที่จะแปรก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นประโยชน์โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT (Massachusetts Institute of Technology) ได้คิดค้นแนวทางใหม่ที่สามารถเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นของแข็งคาร์บอเนตที่ใช้ในการผลิตวัสดุ ก่อสร้าง ได้  โดยใช้ยีสต์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม วิธีการนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหอยเป๋าฮื้อ ที่เปลือกเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีความแข็งแรงมาก จากกระบวนการในห้องทดลองพบว่า วิธีของ MIT เป็นการใช้วิธีทางชีววิทยาที่ให้ผลในการดักจับสูงกว่าการใช้วิธีการทางเคมี และไม่ต้องใช้พลังงานในการให้ความร้อน ความเย็น และใช้สารเคมีอันตรายอีกด้วย งานวิจัยนี้นับได้ว่าส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม ก่อสร้าง เป็นอย่างยิ่ง

“พจมาน 2” ERP ก่อสร้าง บนระบบ Could 100% เทคโนโลยีสุดเจ๋งเพื่อการบริหารงานก่อสร้างไทย

“พจมาน 2” โปรแกรมบริหารงานก่อสร้างที่ออกแบบเฉพาะสำหรับ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
เน้นควบคุมงบประมาณ และ กำไร ของโครงการได้ครบถ้วน สามารถจัดการระบบบริหารงานต่าง ๆ ได้เทียบเท่า ERP ระดับโลก ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้งานผ่านระบบ Cloud ERP 100% ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์
ใช้โปรแกรมได้จากทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต

ขอเดโม่โปรแกรมพจมาน2 ฟรีที่นี่

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ที่นี่เลยค่ะ ^^

พจมาน 2 คืออะไร

“พจมาน 2” โปรแกรมบริหารงานก่อสร้างที่ตอบโจทย์ทุกฝ่าย

ทำไมต้อง “พจมาน 2”

ปรับแนวคิด เดินหน้าธุรกิจรับเหมาด้วย โปรแกรมบริหารงานก่อสร้าง

อ่านบทความทั้งหมด คลิกเลย

X