www.pojjaman.com

เสริมแกร่งระบบภายในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างด้วย Cost Control

จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : 1,292


Loading

ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่วิกฤตที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันได้พัดพาผู้รับเหมาหลายรายค่อยๆจากหายไป และยังมีรายใหม่เกิดขึ้นอีกนับไม่ถ้วนเช่นกัน วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งผู้รับเหมาสุดแกร่งที่ฝ่าทุกมรสุม ทุกวิกฤต เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา และปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น

บทสัมภาษณ์พิเศษ จาก คุณวรินทร์ ศรีมหาโชตะ  รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท คอนสตรัคชั่น ไลนส์ จำกัด จากคนที่ไม่รู้เรื่องก่อสร้าง ปัจจุบันนำพา Construction Lines มาสู่การเป็นแนวหน้าบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ การันตรีด้วย Quality Score ระดับ แพลตตินั่ม ทุกโปรเจ็ก ‘คุณวรินทร์’ มีวิธีรับมือและปรับตัวกับทุกๆวิกฤตที่ผ่านเข้ามาได้อย่างไร

Highlights

  • Construction Lines บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เจอกับทุกวิฤตสุดปราบเซียน ยิ่งทำยิ่งขาดทุน แต่พลิกจากจุดอ่อนให้กลับมาแข็งแรงกลายเป็นผู้รับเหมาชั้นนำการันตีด้วยรางวัลคุณภาพทุกโครงการ

  • คุณวรินทร์ ศรีมหาโชตะ ผู้บริหารสายลุย จากไม่รู้เรื่องก่อสร้างมาก่อน เจอความท้าทายต้องคุมไซต์งานด้วยตัวเอง เรียนรู้จากประสบการณ์ ปรับกลยุทธ์ตามแนวคิดแบบวิศวกรรมอุตสาหการ

  • ระบบ Cost Control คือสิ่งสำคัญในการทำให้ระบบภายองค์กรแข่งแกร่ง  ใครอยากอยู่ต่อไดท่ามกลางวิกฤต อาจจะต้องใช้กลยุทธ์เรื่อง Cost Controlเป็นหลักและพลิกแพลงให้ถูก

 

จุดเริ่มต้นบริษัท คอนสตรัคชั่น ไลนส์ จำกัด

บริษัท Construction Lines ก่อตั้งประมาณปี 1990 เริ่มมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ ปัจจุบันก็ 30 ปีแล้วครับ ช่วงแรกๆรับงานงานคอนโด และโรงเรียนนานาชาติซึ่งไม่ใหญ่มาก  ต่อมาคอนโดเฟื่องฟู เราก็ได้ทำคอนโดฟลอร่า วิลล์ และทำโครงการบ้านเดี่ยวฟลอราวิลล์ พาร์คโฮม แอท สุวินทวงศ์  งานบ้านเดี่ยวในช่วงนั้นถือว่าปราบเซียนมาก เพราะสภาพเศรษฐกิจแย่มาตั้งแต่ปี 2539 และมาต่อที่ปี 2540 ซึ่งปีนั้นเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือวิกฤต40 ขึ้นพอดี

‘แย่ขนาดที่ว่าปี 40 เราไม่มีงานเลย คอนโดก็เจ๊งกันเป็นแถบๆ เจ้าของโครงการไม่มีเงินจ่าย  โชคดีที่ตอนนี้เราประมูลงานที่มหาวิทยาลัยได้พอดี  แม้ก่อนหน้านั้นเราเป็นผู้รับเหมาเอกชนรับงานคอนโด แต่เจอวิกฤตเราต้องไม่เลือกงาน’

ธุรกิจเริ่มดีขึ้นหลังวิกฤตแต่  ‘ยิ่งทำ ยิ่งขาดทุน’ เพราะขาดการจัดการที่ดี ไม่มีระบบเข้ามาช่วย

หลังวิกฤตต้มยำกุ้งใช้เวลา 3 – 4 ปี เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นคอนโดก็เริ่มกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง เราก็เริ่มมีงานคอนโดเข้ามา แต่ก็ยังรับงานราชการควบคู่ไปด้วย  ตอนนั้นหุ้นส่วนจาก 4 เหลือ 3 หุ้น และมีนโยบายในการรับงานเยอะๆ แต่ราคาไม่ค่อยดีเท่าไหร่ หุ้นส่วนเองก็มีความคิดเห็นไม่ตรงกันในเชิงกลยุทธ์ ฝ่ายนึงต้องการรับเยอะๆ อีกฝั่งต้องการ Conservative อยากรับงานลดลงเพื่อจะได้มีเวลาทำเรื่องคุณภาพ , คุม Cost , คุมคนให้อยู่ เพราะการบริหารภายในสำคัญมาก ถ้าควบคุมไม่ได้ยังไงคุณก็เจ๊งแน่นอน ทำรับเหมาก่อสร้างจากที่เคยรับอยู่ที่ 3,000 ล้าน เราปรับเหลือ 1,500-2,000 ล้าน  ช่วงนั้นรับงานเยอะไม่ใช่ว่าได้กำไร ผมขาดทุนสะสมเยอะ เราเป็นบริษัทใหญ่ที่ทำงานโดยไม่มีระบบเข้ามาช่วย ขอให้ผ่านไปงานๆก่อน   คนเติบโตขึ้นก็มีการรับงานที่ใหญ่ขึ้น ส่วนเรื่องคน เรื่องของระบบ ยังไม่มีการคอนโทรล Time – Cost – Quality  อย่างจริงจัง  มีหุ้นส่วน 3 คน ก็แบ่งไซต์กันรับผิดชอบ

 

จุดเริ่มต้นของ ‘คุณวรินทร์ ศรีมหาโชตะ’ ใน Construction Lines

ผมไม่ได้เรียนจบวิศวกรรมโยธา  ผมเรียนวิศวกรรมอุตสาหการ จบมาก็ไปทำงานเป็นวิศวกรโรงงานอยู่ นิปปอนเดนโซ่ 1 ปี ทำให้ได้ประสบการณ์และเห็นระบบการทำงานของบริษัทแบบญี่ปุ่น หลังจากนั้นไปเรียนที่อเมริกา ด้าน MBA Engineering management

ผมเริ่มทำงานที่คอนสตรัคชั่น ไลนส์ ในปี 2010 ด้วยการเรียนรู้งานเรื่องถอดแบบ ที่ฝ่าย Cost Control ฝ่าย Bidding มาถอดแบบโครงสร้างของแต่ละไซต์ ว่าแบบโครงสร้างเป็นยังไง แบบเหล็กเป็นยังไง ใช้เหล็กกี่ตัน คอนกรีตเท่าไหร่  ‘ซึ่งผมไม่มีความรู้เลย’  ผมเข้ามาก็ต้องทำข้อสอบของคนเข้าใหม่  เขาถามผมว่า เหล็กดีบี 25 คืออะไร  ผมงง!! มีด้วยหรอเหล็กดีบี25  ก็มาเริ่มเรียนรู้ใหม่จากตรงนั้น จากทีมงาน เขาก็สอนงานถอดแบบ งานโครงสร้าง งานสถาปัตย์

 ก่อนหน้านี้ คุณพ่อไปเปิดโรงแรมที่ภูฏาน ผมเองไม่ได้มีประสบการณ์ด้านก่อสร้าง แต่ไปอยู่ในนาม Owner เราทำโรงแรมของเราเอง โดยไม่มีความรู้มาก่อน ผมคุมงานโดยไม่รู้เรื่องการถอดแบบ ไม่รู้ความรู้ในการบริหารงานตรงนั้น ซึ่งคุณพ่อผมบอกว่า ถ้าส่งผมไปตอนที่ผ่านงานมาก่อนแล้ว น่าจะประหยัดไปได้สัก 30 ล้านบาท 5555(ขำ) ถือว่าได้เรียนรู้วิชาจากสนามจริง 

ถึงเวลาออกสนามรบ เพื่อเรียนรู้เรื่องก่อสร้างจากการทำงานจริง

เรียนรู้งานในออฟฟิศได้ 2 เดือน ก็ถูกส่งออกไปสนามรบ ไปประจำไซต์งานที่เซ็นทรัลอุดร ซึ่งงานนี้มี 2 สัญญา คือ งานรีโนเวท และสร้างตึกใหม่  สัญญารีโนเวทจะเฉพาะงานโครงสร้างมูลค่า 40 ล้าน ส่วนสัญญาใหญ่เป็นการสร้างตึกใหม่มูลค่า 762 ล้าน

ผมเข้าไปเป็น Office Engineer (OE) กึ่ง Quantity Surveyor ผมก็เรียนรู้งานและทำในส่วนของ Payment โดยมีพนักงานมาสอนว่าต้องทำยังไง เริ่มตั้งแต่ การอ่านสัญญา การเบิก Payment ให้ได้  เพราะเป็นโครงการใหญ่ หากเบิก Payment ไม่ได้จะแย่เลย  ผมลุยโคลนพา QS เข้าไปตรวจสอบงาน ซึ่งผมก็อยู่ที่นั่นจนจบโครงการ

ความท้าทายของลูกผู้บริหาร ที่เข้าไป ‘กิน-นอน’ ที่ไซต์งานกับลูกน้อง

ผมไม่ได้นอนในฐานะลูกผู้บริหาร ตอนนั้นคุณพ่อผมยังเป็นแค่หุ้นส่วนคนนึง  ไม่ได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่อะไรด้วยซ้ำ  แค่ดูแลงานฝ่ายการเงินเท่านั้น ผมจึงเป็นคนธรรมดา ที่เข้าไปทำงานส่วนของ Quantity Surveyor  อยู่บ้านพักพนักงาน  นอนเสื่อน้ำมัน ผนังห้องก่ออิฐบล็อกแบบไม่ได้ฉาบ ห้องน้ำเป็นคอห่าน ตักน้ำอาบกัน ยิ่งช่วงฤดูหนาวมีอุณหภูมิเลขตัวเดียว ผมต้องรีบอาบน้ำแล้วมานอนในผ้าห่ม  เขาทำอะไรให้กินผมก็กินได้หมดครับ

บริษัทรับงานเยอะแต่ขาดทุน เพราะไม่มีความรู้เรื่องระบบ ‘มีโปรแกรมบริหารงาน…แต่ใช้ไม่เป็น’

ไซต์ที่สองมาเปลี่ยนบทบาท เริ่มรู้เรื่อง Cost เยอะขึ้น  เรียนรุ้เรื่องของสัญญา  เรื่องของยอดเงิน การคุมยอดเงิน Payment ผู้รับเหมา ตอนนั้นบริษัทขยายใหญ่ รับงาน  3,000 – 4,000 ล้านแต่ขาดทุน!!

เราทำ 20 ไซต์ ขาดทุนไปเกือบ 12-13 ไซต์  เท่าทุนซัก 4-5 ไซต์  กำไรแค่ประมาณ 3 ไซต์ บริษัทมีปัญหา  เรื่องขยายงานเยอะเกินไป รับงานราคาถูก รับคนร้อยพ่อพันแม่เข้ามาทำงาน  ไม่มีการควบคุม Budget    ผู้รับเหมาเขียน Payment มาให้ Site Engineer ไม่มีการควบคุมหรือตรวจสอบ เขียนมาเท่าไหร่ก็จ่ายไปเท่านั้น ทำงานแบบลูกทุ่งง่ายๆเลยครับ

‘ซึ่งตอนนั้นเพิ่งเริ่มนำระบบ พจมาน1 เข้ามาใช้ ผมไม่ปฏิเสธเลยว่าใช้ไม่เป็น เราใช้ไม่ถูกวิธี มันก็ไม่มีประโยชน์’

บริษทถูกคอร์รัปชั่น ผมตรวจ Payment เจอด้วยตัวเอง ขอยกตัวอย่างเช่น ตึกมีทั้งหมด 1,432 ห้อง ต้องใช้บัวด้านนอก 1,432 ชิ้น ผมมานั่งตรวจ Payment ผู้รับเหมาทั้งหมด  พบว่ามีค่าติดตั้งบัวเดือนละ 200-300 ชิ้นทุกๆเดือน และยังเหลือบัวที่ยังไม่ติดตั้งอยู่ 500 ชิ้น แต่ว่าผมจ่ายเงินไปแล้ว 1,200 ชิ้น หมายความว่าเกินมา 300 ชิ้น  พอตรวจดีๆ คือผมก็เจอว่ามีหลายๆเรื่องที่จ่ายเงินเกินไป

การปรับกลยุทธ์ของว่าที่ผู้บริหาร ตามแบบฉบับวิศวกรรมอุตสาหการ

ในมุมมองของวิศวกรรมอุตสาหการทุกอย่างต้องถูกควบคุมได้ ทุกอย่างต้อง Under Control ต้องเป็นปกติ ถ้าเจอสิ่งไม่ปกติต้องพากลับเข้าสู่ปกติให้ได้  ซึ่งเหตุการณ์ไม่ปกติสามารถเกิดขึ้นได้ เพราะเราใช้คนร้อยพ่อพันแม่ทำงานร่วมกัน ต้องมี Tools ที่ช่วยควบคุมทุกอย่างให้เข้าสู่ขั้นตอนของเรา

หลังจากที่ใช้พจมาน1 ไม่สำเร็จ ผมจึงมาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับระบบอีกครั้ง และเราก็ใช้ระบบพจมาน1 ในการจัดการเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เปิด PR, PO โดยฝ่ายจัดซื้อ แม้วิธีการใช้งานระบบพจมานของผมจะไม่เหมือนบริษัทอื่นๆ แต่ทำให้งาน และระบบของเรามันดีขึ้นได้จริงๆครับ Payment สามารถควบคุมและตรวจสอบได้ ทำให้บริหาร Cost ได้อย่างเป็นระบบ

 

พจมาน1 คือ สิ่งสำคัญในการสร้างความแข็งแรงของระบบภายในองค์กรเรา 

เราใช้เวลา 4-5 ปีในการเคลียร์ตรงนั้น  และสร้างความเข้มแข็งของระบบภายใน  ผมว่าระบบ Cost Control นี่สำคัญมาก เป็นหัวใจของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเลย ซึ่งเราใช้พจมานในการทำ Cost Control ทำให้บริษัทกลับมาแข็งแกร่ง  

 

‘คุณวรินทร์’ ผู้บริหารสายลุย ตรวจทุกพื้นที่หน้างานด้วยตัวเอง

กว่าจะมาเป็นผู้บริหารจริงๆ ต้องผ่านการทำงาน ผมเรียนรู้งานมาทั้งหมด 4 ไซต์ มี  เซ็นทรัลอุดร ,  แอสปายพระราม 4  ,  15 สุขุมวิท เรสซิเด็นท์ และไนท์บริดจ์ คอลลาจ สุขุมวิท 107  แล้วผมก็เข้าออฟฟิศ แต่เรื่องของหน้างาน ยังมีหลายเรื่องที่เรายังไม่รู้รายละเอียด จะต้องเข้าไปดูหน้างานจริง ไปดูเรื่องควบคุม Quality ของการใช้คนให้เหมาะสมกับงาน มันมีดีเทลเล็กๆน้อยๆ ที่ใช่ว่าผมเป็นผู้บริหารแล้วผมจะรู้เลย  ผมต้องลงไปคลุกคลีกับหน้างานจริงๆ  เราต้องคุ้นเคยกับลูกน้องจนเขาสามารถบอกปัญหา ให้เราฟังได้  ผมเดินไซต์ก่อสร้างบ่อยมาก และผมรู้ว่าไซต์ไหนส้มตำอร่อยสุด

Construction Lines  หนึ่งในผู้รับเหมาที่ทำงานมีคุณภาพสูง การันตีจากรางวัล Quality Award ทุกโครงการ

เรารับงานอยู่ประมาณ 1,500 – 2,000 ล้าน งานที่หรูสุดในตอนนั้นคือ คอนโดเดอะโมนูเม้นท์ (The Monument ) สนามเป้า  เขาขายตารางเมตรละ 240,000 – 250,000 บาท  และงานส่วนใหญ่ที่ทำเป็นเกรด  B+  ได้แก่  เดอะไลน์อโศก , เดอะไลน์วงศ์สว่าง   การที่เราได้รับรางวัล  Quality Award  จาก บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)  มันไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายๆ  ต้องมี QC Score เกิน 87%  ถึงจะได้ระดับ  Platinum   ถ้ามี  85%  ถึงจะได้ระดับ  Golden   ซึ่งของผมได้ระดับ Platinum หมดเลย

เบื้องหลังของ รางวัลระดับแพลตตินั่มในทุกโครงการ

อย่างแรกก่อน  ‘มาจากคนงาน’  บริษัทผมมีคนงานประจำที่ทำเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะ เขาอยู่กับผมมาตั้งแต่โครงการแรกๆจนปัจจุบัน ซึ่งเขาจะรู้ดีว่างานแบบนี้คืองานที่ดีหรือไม่ดี เขามีความเป็นช่าง เขาใส่ใจในงาน เรียกได้ว่า เขาคือศิลปิน

และเราจะปลูกฝังเรื่องของ Quality ตั้งแต่พนักงานระดับล่างสุด ไม่ยอมที่จะมีดีเฟคกับงานที่ทำเด็ดขาด ในส่วนของพนักงาน  ก็จะมี Quality Award อยู่ใน  KPI ว่าทุกโครงการที่ทำจะต้องได้ Quality Award ระดับ Platinum คือ QC Score มากกว่า 87% ไม่อย่างนั้นคุณจะตก KPI   ถ้าตกโบนัสก็น้อยลง  ดังนั้นทุกคนเลยแข่งกันทำให้ได้ตามเป้า ถ้าคนนี้ทำได้ 87  เราจะต้องทำให้ได้ 88 ซึ่งล่าสุดที่ผมได้มาคือ 88.7 %  แต่ถ้าวันไหนมีโครงการได้ 90% จะพาไปเลี้ยงใหญ่ทุกไซต์เลย

‘ทางฝั่ง Owner เองเขาก็ประทับใจ ถ้าถามว่าผมได้อะไรไหม จากการได้ QC Score  ผมก็ได้โล่รางวัล  มันเป็นความภาคภูมิใจของทีมงานของผม ว่า ได้สร้างสรรค์คอนโดที่มีคุณภาพ’

 

Time – Cost – Quality  อะไรคือ Key Success Factor  ของ Construction Lines

ณ สถานการณ์ปัจจุบัน ผมเลือก Cost ครับ จะเห็นว่าการแข่งขันตอนนี้สูงมาก โครงการของ Developer หลายๆเจ้าก็ลดลงเยอะ ทำให้เราต้องลด Cost ให้ได้มากที่สุด  โชคดีที่ผมมีทรัพย์สินเป็นของตัวเอง อย่างแผ่นเหล็ก เครื่องจักรต่างๆ  ทำให้ลด Cost ได้ แม้เรื่อง Cost สำคัญที่สุด แต่เรื่องของ Quality ผมก็ลดไม่ได้   Time  มันก็ตาม LeadTime ที่บริหาร  ปัจจัยภายในที่เราคอนโทรลได้ ก็คืออย่าให้ Cost บานไปกว่านี้ทุกอย่างจะต้องลีน (LEAN)  แต่ไม่ใช่ว่าคิดแล้วทำได้เลย ต้องไปบิ้วให้คนของเราเข้าใจ แล้วทุกคนต้องร่วมลีนไปด้วยกัน

‘Objective Key Result ของผมในปัจจุบันคือ Cost Control เราต้องลด Cost เพื่อแข่งขันกับคนอื่นให้ได้’

สิ่งที่ทำให้ผมกลับมาแข็งแกร่งแบบทุกวันนี้ได้ ส่วนนึงก็เป็นเพราะระบบพจมาน1 มันเหมือนเป็นแกนหลักที่ให้ผู้บริหารแบบผม มองเห็นภาพรวมของทั้งบริษัท ว่าเรารับงานอยู่กี่ที่ แต่ละที่แนวโน้วเป็นอย่างไร กำไร – ขาดทุน เท่าไหร่ ระยะเวลาจะเสร็จทันมั้ย ระบบละเอียดขนาดที่ว่าผมสามารถเจาะลงไปได้ละรายละเอียดของโครงการนั้นๆได้ ทำให้บริษัทผมไม่เจอปัญหาการทุจริตภายในองค์กร  พอยุคสมัยเปลี่ยนไป ระบบมีการพัฒนามากขึ้น ตอนนี้เราก็อัพเกรดมาใช้ พจมาน2  การทำงานร่วมกันดีขึ้น เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น

 

โควิด-19กับต้มยำกุ้ง เหมือนหรือต่างในมุมมองของ ‘คุณวรินทร์’  สิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วปรับให้ดีขึ้นในภาวะวิกฤต

ช่วงต้มยำกุ้งผมอาจจะไม่ได้มาคลุกคลีมาก แต่ตอนนั้นมาเร็ว  “ตู้มมม!!” ไม่มีงานเลย  แต่ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ไม่ใช่ว่าไม่มีงานเลย มันยังมีงานอยู่ แต่ด้วยซัพพลายที่มันโอเวอร์ไปเยอะ  ทำให้เราต้องพลิกแพลงในส่วนของงานปัจจุบันที่มีอยู่ เช่น  ตอนนี้ผมก็เริ่มเปลี่ยนไปรับงานโรงพยาบาล งานโรงงาน งานโรงแรม  อาจจะไม่ใช่โครงการใหญ่มาก  แต่ว่างานไหนได้เงินชัวร์ผมก็ทำงานนั้น เพราะเราก็ต้องเลี้ยงลูกน้อง  ถ้าสมมุติผมผ่านปีหน้า (ปี 2021)ไปได้ผมว่าก็จะสบาย แต่เชื่อว่าในปีหน้าตลาดผู้รับเหมาก่อสร้างจะมีคนเจ็บอีกหลายคน และตลาดอสังหาฯ ก็จะล้มต่อกันมาเป็นทอดๆ ใครอยากอยู่ต่อได้ ตอนนี้อาจจะต้องใช้กลยุทธ์เรื่อง Cost เป็นหลัก ต้องพลิกแพลงให้ถูก

 

จุดแข็งของ Costruction Lines ในสาตาลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงาน

ในสายตาของลูกค้า – อันดับแรกคือเขาต้องเชื่อก่อนว่าเราคือบริษัทที่ทำแล้วสามารถจบงานตามระยะเวลาที่ลูกค้าต้องการ บน Quality ที่เขาคาดหวัง ด้วย Cost ที่ประมูลมา ซึ่งของพวกนี้มันไม่ใช่เวลาแค่ 5 ปี 10 ปี แต่คือสิ่งที่ต้องสะสมมาเรื่อย ๆ

‘ตอนนี้เริ่มมีสื่อ Social  จะมีกลุ่ม Influencer ออกมาพูดว่าโครงการไหนคุณภาพดี หรือคุณภาพไม่ดี ผมเคยเจอ  Influencer ใน Facebook เขาชมโครงการ ‘เดอะไลน์อโศก’ ที่เราทำ เป็นสิ่งที่ทำให้ผมภาคภูมิใจ เพราะเราเหนื่อยกันมากกว่าจะได้มาขนาดนี้’

 

ในสายตาของซัพพลายเออร์ – ผมว่าวงการนี้แคบ แต่เชื่อว่าซัพพลายเออร์มองเราดีแน่นอนถ้าเราจ่ายเงินตรงเวลา แต่ก่อนเมื่อ 6-7 ปีที่แล้วผมอาจจะเคยมีปัญหา แต่ปัจจุบันตอนนี้ผม ‘เป๊ะ’ ไปหมดเลย ซัพพลายเออร์หลาย ๆ เจ้าเขาอยู่กับเรามาตั้งแต่ตอนที่เราลำบาก บริษัทประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง เขาก็ช่วยผลักดันจนจบงานมาได้ ผมก็ให้ความสำคัญกับเขามากๆ และยังเลือกเจ้าเดิมที่เคยช่วยเหลือกันมาครับ

ในสายตาของพนักงาน – ผมนับถือศาสนาคริสต์ เขาบอกว่า “จงรักผู้อื่นเหมือนรักตัวเอง” ผมก็จะดูแลลูกน้องเหมือนผมดูแลตัวผมเอง วันนี้ลูกน้องกินอะไรผมก็นั่งกินกับเขา ผมก็ไม่ได้ลอยอยู่บนหอคอยงาช้าง ผมเชื่อว่าการเป็นกันเองแล้วเราดูแลเขาอย่างสมเหตุสมผล  ทุกคนทำงาน ทุกคนมีวันหยุด บริษัทไม่ได้เอาเปรียบ ทุกคนตั้งใจทำงาน พอมีโบนัสที่สมเหตุสมผลออกมา เขาก็โอเคไม่เอาเปรียบกัน

ฝากถึงผู้รับเหมาที่กำลังฝ่าวิกฤต ต้องรับมือหรือปรับอะไรบ้าง

สิ่งสำคัญของการเป็นผู้รับเหมาอย่างหนึ่งคือการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น  สิ่งที่สามารถเอาไปปรับใช้ได้ตลอดคือ P C D A (Plan Do Check Action) เมื่อเรารู้ข้อผิดพลาด เราก็ต้องปรับ  ผมเองเคยมีปัญหาเรื่องการควบคุมงบประมาณไม่ได้ เคยตรวจเจอการคอร์รัปชั่น ผมก็หาระบบเข้ามาช่วย อย่างตอนนี้เราใช้  ERP POJJAMAN ทำให้เราคอนโทรลได้

จากระบบพจมาน1 ที่ทำให้ระบบภายในแข็งแรงขึ้น ปัจจุบันเราใช้ระบบพจมาน2 ที่เป็นการทำงานแบบออนไลน์ โลกมันเปลี่ยนผู้รับเหมาแบบเราก็ต้องปรับ ต้องเร็วขึ้น การทำงานก็ต้อง Real-time เพื่อที่จะได้ปรับกลยุทธ์กันได้ทัน ข้อผิดพลาดก็มีน้อยลง เราสามารถบริหารงานแต่ละโครงการได้ชัดเจนมองเห็นกำไร ขาดทุน ความคืบหน้าโครงการ แม้แต่ความผิดพลาดที่รับรู้หรือตรวจสอบได้ว่าเกิดจากจุดไหน

‘ผมมองว่าการเรียนรู้แล้วนำมาปรับมันทำให้ชีวิตเราไม่ย่ำอยู่กับที่ ไม่อย่างนั้นชีวิตเราก็จะวนอยู่กับปัญหาเดิม ๆ ปวดหัวกับเรื่องเดิมๆ  ผมว่าชีวิตคนเราไม่มีอะไรยุ่งยาก ถ้าเราไม่ทำให้มันยุ่งยากครับ’

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล และบทสัมภาษณ์จาก : CONSTRUCTION LINES เส้นทางสู่ผู้รับเหมาพันล้าน ; Construction Business Owner “STRENGTH” 

ขอบคุณรูปภาพจาก : Construction Lines

X