www.pojjaman.com

การใช้ระบบ ERP ในธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ของ บริษัท เดอะ เมกะวัตต์ จำกัด

ระบบ erp
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : 0


บทสัมภาษณ์คุณอู๋ – ไพโรจน์ ไววานิชกิจ ในบทบาท CEO บริษัท เดอะ เมกะวัตต์ จำกัด ที่กลั่นมาจากประสบการณ์บนความแตกต่างของโจทย์ปัญหาที่เข้ามาไม่ซ้ำ โดยเฉพาะการลงทุนและเข้าบริหารจัดการด้านพลังงานไฟฟ้า

บริษัท เดอะ เมกะวัตต์ จำกัด เป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มของ มิลล์คอนสตีล อินดัสทรีย์ ( MILLCON) ที่ดั้งเดิม และเชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรมเหล็กของเมืองไทยมาอย่างยาวนาน จึงมีองค์ประกอบด้านความเป็นมืออาชีพและความน่าเชื่อถือเพียงพอที่จะเป็นเจ้าตลาดในธุรกิจพลังงานไฟฟ้าอย่างไม่ต้องสงสัย

ธุรกิจของ เดอะ เมกะวัตต์ จะถูกแบ่งออกเป็น 3 แกนด้วยกัน นั่นคือ
แกนที่ 1 – บริหารโครงการติดตั้งแผง Solar cell
แกนที่ 2 – ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า Solar Farm เอง เพื่อขายไฟฟ้าให้แก่หน่วยงานไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ
แกนที่ 3 – เทคโนโลยีเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งด้านเครื่องกล ระบบทำความเย็น ความร้อน ไปถึงระบบไฟส่องสว่าง

ซึ่งแกนธุรกิจที่เรียกได้ว่า เป็นหัวใจของอนาคตที่นับไปตั้งแต่วันนี้ นั่นคือ

“เทคโนโลยีเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า” ทั้งในแง่มุมของการเข้าจัดการ และให้คำปรึกษาให้แต่ละองค์กร

ด้วยสภาวะค่าใช้จ่ายด้านการใช้พลังงานในประเทศไทยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกระแสรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังในสังคมโลก โดยมีปัจจัยด้านองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ เป็นส่วนช่วยเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการใช้พลังงานเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะทั้งองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ โรงงาน โรงเรียน โรงพยาบาล ต่างก็ให้ความสำคัญในการลดการใช้พลังงาน จึงเป็นโอกาสที่ดี และจะยิ่งดีขึ้นเรื่อยๆ ต่อธุรกิจของเดอะ เมกะวัตต์

ความท้าทายในธุรกิจ

ขึ้นด้วยคำว่า “การลงทุน“ และต่อด้วยคำว่า “เพื่อลดการใช้ไฟฟ้า” นั่นหมายถึง “ความคุ้มค่าสูงสุด” ที่อยู่ปลายทางเมื่อเทียบกับการลงทุน ดังนั้นแล้ว “ต้นทุนทางบัญชี” จึงเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับเรื่องนี้ ทั้งในแง่การใช้วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี ไปจนถึงต้นทุนด้านแรงงานและเวลา ต่อโครงการหนึ่งๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ ว่าโครงการนั้นๆ คุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่

“การควบคุม” ตั้งแต่กระบวนการวางแผน ติดตาม แก้ไขปรับปรุง ไปจนถึงการสรุปผลลัพธ์ จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำโดยละเอียดรอบคอบ โดยคุณอู๋ – ไพโรจน์ ไววานิชกิจ ใช้การแบ่งต้นทุนทางบัญชีตามรูปแบบการทำงานออกเป็น 2 หมวดด้วยกันนั่นคือ

Project-Based บริหารการสร้างโครงการให้มีคุณภาพ และตามต้นทุน
Operation–Based บริหารและซ่อมบำรุงการดำเนินการของโครงการให้มีประสิทธิภาพ

ซึ่งทั้ง 2 หมวดนี้ จะตอบโจทย์การทำงานได้ด้วยระบบที่เรียกว่า “ ERP ”

การใช้ระบบ ERP กับธุรกิจพลังงานไฟฟ้า
ERP (Enterprise Resource Planning) คือโปรแกรมวางแผน จัดสรร และควบคุมทรัพยากรองค์กร เพื่อบริหารผลกำไรให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยทางบริษัท เดอะ เมกะวัตต์ จำกัด ไว้วางใจเลือกใช้ POJJAMAN ERP ที่มีความเชี่ยวชาญ และตอบโจทย์สำหรับธุรกิจที่บริหารแบบรายโครงการ (Project-based) โดยเฉพาะ

Project Cost Control ตั้งแต่ต้นจนจบ
รูปแบบบริหารการสร้างโครงการนั้น มีอยู่ในวิชา Project Management ที่คนทำโครงการรู้ๆ กันอยู่แล้ว ซึ่งโครงการนั้นจะอยู่หรือจะรอด ขึ้นกับคนทำ Project Cost Control ตั้งแต่ต้นเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดโครงการ ว่าสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ ?

การที่จะสามารถวางแผน รู้รับ ติดตาม ควบคุม แก้ไขและวัดผล ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที จึงจำเป็นต้องใช้ระบบ ERP ที่เป็นแบบ Real-time ผ่านระบบ Cloud100% สะดวกและปลอดภัยต่อข้อมูล

Prediction Model ให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น ไกลขึ้น ในการดำเนินงานในแต่ละโครงการ จะมีทั้งส่วนที่ “คาดเดาได้” และส่วนที่ “คาดเดาไม่ได้”

อย่างเช่น Solar farm ที่มีกำหนดรอบการล้างแผง ตัดหญ้า บำรุงรักษาหม้อแปลง เป็นรอบๆ อันนี้เราคาดเดาได้ แต่ส่วนที่ “คาดเดาไม่ได้ ” หรือนอกเหนือจากการคาดเดา ก็อย่างเช่นสวิตซ์เกียร์บางตัว เกิดระเบิดก่อนที่จะถึงเกณฑ์การเปลี่ยน

“ข้อมูล ” จึงเป็นเหมือนทรัพย์สินอันมีค่า เพื่อให้คาดเดาได้แม่นยำมากขึ้นในโครงการถัดๆ ไป การมีระบบ ERP มาใช้ในการเก็บข้อมูล และประมวลผลออกมา จึงช่วยให้ผู้บริหารเห็นภาพได้ชัดขึ้น ไกลขึ้น

Reporting & Tracking 2 อย่างในชีวิตนักบริหาร

ยิ่งโครงการซับซ้อนยิ่งต้องละเอียด ยิ่งมูลค่าสูงยิ่งต้องระวัง การดู Report และการ Tracking โครงการจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำทุกวัน

ก่อนหน้านี้ ที่บริษัททำผ่านระบบ Excel ซึ่งก็สามารถทำได้ Report ได้ Track ได้ แต่จะขึ้นกับ 1 คน หรือกลุ่มคนที่ทำ เท่านั้น จึงมีโอกาสในความคลาดเคลื่อน ไม่มั่นใจในความถูกต้องของข้อมูล

ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบ ERP จะมีความ Automatic กว่า พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลพร้อมๆกัน หรือจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเป็นรายบุคคลหรือตามตำแหน่งได้

วันนี้ “ กำไร “ หรือ “ ขาดทุน ” มากขึ้น ในส่วนไหนของโครงการ ผู้บริหารดู Report ก็รู้ได้ทันที Trackingได้เลยว่ามาจากจุดไหน ทำให้สามารถ Synergize ต้นทุนแต่ละจุดได้ เพื่อให้ภาพรวมโครงการมีผลกำไรเป็นไปตามเป้าหมาย

ผลักดันเรื่องความ “ เก๋า ” ที่ไม่มีมหา’ลัยไหนเค้าสอน

ความเก๋า ไม่ได้หมายถึง รู้แล้ว เก่งแล้ว หรือต้องอยู่นอกกรอบตลอดเวลา

แต่หมายถึง การเข้าแถวทำงานตาม Flow ก่อน ตามวิชาการที่ควรจะเป็น ซึ่งความเก๋ามันอยู่ที่การเก็บระหว่างทาง

ลูกค้า 5 ราย ทำธุรกิจเหมือนกัน แต่ใช่ว่า Solution จะต้องเหมือนกัน โรงงานเหมือนกัน แต่คิวเข้าออกวัตถุดิบไม่ตรงกัน กฏกติกาก็ไม่เหมือนกัน

เดอะ เมกะวัตต์ จึงต้องผลักดันให้มีการเก็บประสบการณ์ ผ่านการบันทึกข้อมุลและประมวลผลออกมาใช้ให้มาก คาดการณ์ได้แม่นยำ แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และรวดเร็ว สิ่งนี้ถึงจะเรียกว่า “ ความเก๋า ”

X