www.pojjaman.com

สรรพากรให้โอกาสครั้งสุดท้าย ธุรกิจ SMEs ต้องทำ บัญชีเดียว เท่านั้น

จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : 1,243


Loading

สำหรับธุรกิจ SMEs คงเคยได้ยินเกี่ยวกับมาตรการบัญชีเดียวที่ภาครัฐส่งเสริมให้ธุรกิจ SMEs จัดทำ บัญชีเดียว เพื่อยื่นต่อกรมสรรพากร ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการนิรโทษกรรมทางภาษี  เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี แต่ทางกรมสรรพากรก็ยังพบว่า ผู้ประกอบการยังมีการทำบัญชีไม่ถูกต้อง หรือบางรายหลบเลี่ยงภาษีด้วยการจัดทำบัญชีสำรองขึ้น หรือจัดทำบัญชีมากกว่าหนึ่งชุด เพื่อปกปิดรายได้ที่แท้จริง  ยังไงก็ตามภาครัฐจึงได้ออกพระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการมาลงทะเบียนอีกครั้ง เพราะหากผู้ประกอบการยังจัดทำบัญชีงบการเงินไม่ถูกต้อง และมีรายละเอียดข้อมูลไม่ครบถ้วน อาจจะเข้าข่ายการเป็นธุรกิจกลุ่มเสี่ยงที่ต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งการจัดทำบัญชีชุดเดียวนั้นคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรต่อกิจการของเรา หากไม่ทำจะเป็นอย่างไร ทำความรู้จักไปพร้อมๆกับพจมานกันเลยจ้า

 

การจัดทำ บัญชีเดียว คืออะไร ?

การจัดทำบัญชีเดียวเริ่มต้นมาจากการที่ธุรกิจจัดทำบัญชีสำรองขึ้น เพื่อหลบเลี่ยงภาษี และปกปิดรายได้ที่แท้จริงของธุรกิจ ทำให้ภาครัฐตรวจสอบและทำงานได้ยากขึ้น ดังนั้นภาครัฐจึงมีมาตรการจัดทำบัญชีเดียวขึ้นมา เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ และเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs จัดทำบัญชีและงบการเงินของกิจการให้ถูกต้องเพียงชุดเดียวเท่านั้น เพราะแต่ก่อนที่จัดทำบัญชีหลายชุดอาจทำให้ข้อมูลทางบัญชีมีความผิดพลาด และข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจและต้องการจัดทำบัญชีเดียวสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการจัดทำบัญชีเดียวได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ภายในวันที่ 30 มิถุนายน นี้ เมื่อเข้าร่วมโครงการแล้วจะสามารถปรับปรุงรายการงบการเงินได้ใหม่ หากพบว่าไม่ถูกต้อง หรือข้อมูลผิดพลาด และหากมีผลกระทบต่อการชำระภาษีอากรด้วยก็สามารถยื่นแบบเพื่อแสดงรายการชำระภาษีใหม่ให้ถูกต้อง เพราะหลังจากนั้นทางกรมสรรพากรจะทำการตรวจสอบงบการเงิน บัญชี และการชำระภาษีอย่างเข้มข้น

 

ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้จากการจัดทำบัญชีเดียว

สำหรับผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนเพื่อจัดทำบัญชีเดียวกับกรมสรรพากรก็มีประโยชน์ต่อองค์กรมากมายเลย ไม่ต้องกังวลว่าจะโดนตรวจสอบภาษีย้อนหลังหรือกลัวว่าจะเสียภาษีแบบแพงๆ  อีกทั้งยังไม่ต้องทำงบการเงินหรืองบบัญชีย้อนหลังเพื่อยื่นต่อกรมสรรพากรอีกครั้ง และเป็นการเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารต่างๆด้วย และที่สำคัญคือยังได้รับการลดหย่อนภาษี ดังนี้

  • ผู้ประกอบการ SMEs รายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี
  • ผู้ประกอบการ SMEs รายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 10%
  • ผู้ประกอบการ SMEs ที่รายได้มากกว่า  300,000 บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อปี จะได้รับการลดหย่อน และจะเสียภาษีเพียง 15%
  • ส่วนผู้ประกอบการ SMEs ที่มีรายได้มากกว่า 3ล้านบาท จะเสียภาษี 20%

 

กรมสรรพากรใช้ระบบ AI ตรวจพบ 10 วิธีการจัดทำบัญชีที่เสี่ยงหลีกเลี่ยงภาษี

กรมสรรพากรได้ประเมินผู้ประกอบการ SMEs แบ่งออกเป็นกลุ่มดีและกลุ่มเสี่ยง  ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบบัญชีของภาครัฐและผู้ที่เสียภาษีที่ดีด้วย ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงจะถูกภาครัฐตรวจสอบอย่างเข้มข้น โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มกิจการคือ กลุ่มกิจการซื้อมาขายไป  กลุ่มการผลิต และกลุ่มบริการ เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่ากิจการเหล่านี้มีรูปแบบการใช้จ่ายเงินที่ผิดปกติ คือใช้จ่ายเงินสดมากกว่าเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการทำงบการเงินบัญชีที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง  และทางกรมสรรพากรเองได้ใช้ระบบ Big Data และ Data Analytic เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์กลุ่มธุรกิจที่มีการจัดทำบัญชีที่เสี่ยงจะหลีกเลี่ยงภาษี โดยแบ่งตามข้อมูลส่วนของสินทรัพย์ หนี้สินและทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ดังนี้

ส่วนของสินทรัพย์

1.ใช้เงินสดเป็นหลัก

2.สินค้าคงเหลือไม่ถูกต้อง

3.ไม่มีทรัพย์สินหรือมีทรัพย์สินมากผิดปกติ

ส่วนหนี้สินและทุน

4.มีเงินกู้ยืมจากกรรมการมากเกินไป และไม่สามารถชี้แจงได้

5.แสดงบัญชีที่ขาดทุนสะสมเป็นเวลานาน

ส่วนรายได้

6.บันทึกรายได้ไม่ถูกต้อง

7.บันทึกรายได้ไม่ครบถ้วน

ส่วนค่าใช้จ่าย

8.บันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่รายได้ลดลง

9.บันทึกค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบกับรายได้

10.สร้างค่าใช้จ่ายที่เป็นเท็จ

หากผู้ประกอบการ SMEs ที่มีลักษณะบัญชีตามที่กล่าวมาข้างต้นควรทำการทบทวนและตรวจสอบบัญชีงบการเงินให้ถูกก่อนทำการยื่นงบต่อกรมสรรพากร

 

ผู้ประกอบการจะจัดทำบัญชีเดียวได้อย่างไร ?

เมื่อผู้ประกอบการจะจัดทำบัญชีเดียวจะต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชี ที่ทำการตรวจสอบและปรับปรุงให้เรียบร้อยถูกต้องซึ่งผ่านการตรวจสอบบัญชีจาก CPA ( Certified Public Accountant ) และต้องมีการเก็บเอกสารทางบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ส่วนเอกสารที่ใช้ประกอบการทำบัญชีชุดเดียว ได้แก่ บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า บัญชีอื่นๆ และงบการเงิน ซึ่งประกอบด้วยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ และงบกระแสเงินสด หรืองบการเงินรวม

 

โปรแกรมพจมาน 2 ตัวช่วยในการจัดทำบัญชีชุดเดียวอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง

การยื่นงบบัญชีการเงินต่อกรมสรรพากร ทางผู้ประกอบการ SMEs สามารถใช้โปรแกรมพจมาน 2 ที่เป็นระบบออนไลน์ช่วยในการทำบัญชีชุดเดียวให้เอกสารมีความถูกต้อง โปรแกรมพจมาน 2 มีประสิทธิภาพในการบริหารงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ควบคุมคลังสินค้า และควบคุมต้นทุนของกิจการ เข้ามาช่วยเพื่อให้ทันระยะเวลาที่กำหนดเพื่อรับสิทธิ์ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และเสียภาษีเพียงอย่างเดียว

Pojjaman 2 ตอบโจทย์การทำบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้างทั้งขนาดกลาง-ขนาดใหญ่

ENTERPRISE PACKAGE

เหมาะสำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ขนาดกลาง – ใหญ่
ที่ต้องการระบบ ERP เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าตลาดหลักทรัพย์

  • วางระบบพร้อมใช้งานใน 6 เดือน
  • Support ระบบบัญชี และระบบควบคุมภายในเพื่อเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์
  • สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับธุรกิจก่อสร้างประเภทต่าง ๆ และอสังหาริมทรัพย์

ราคาเริ่มต้น 2 ล้านบาท

SMART PACKAGE

เหมาะสำหรับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง SMEs ที่ต้องการระบบบัญชีและระบบควบคุมต้นทุน เพื่อเพิ่มศักยภาพรองรับการเติบโตของธุรกิจ

  • ใช้งานง่าย ได้ครบทุกฟังก์ชั่น บัญชี ควบคุมต้นทุน จัดซื้อ
  • อบรมการใช้งาน 1 สัปดาห์ พร้อมคอร์สเรียนออนไลน์และซัพพอร์ตออนไลน์
  • ลงทุนเริ่มต้นเพียงแสนกว่าบาท ชำระค่าบริการระบบ Cloud และ Software เป็นรายเดือน

ราคาเริ่มต้น 22,000 บาท/เดือน

 

ขอเดโม่โปรแกรมพจมาน 2 ที่นี่

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ที่นี่เลยค่ะ ^^

“พจมาน 2” โปรแกรมบริหารงานก่อสร้างที่ตอบโจทย์ทุกฝ่าย

ทวีชัย เพอร์เฟ็ค บิวเดอร์ จากผู้ใช้ BUILK สู่ Pojjaman2 รองรับงานที่เพิ่มมากขึ้น

โปรแกรมบริหารงานก่อสร้างสำเร็จรูปบนระบบ Cloud

อ่านบทความทั้งหมด คลิกเลย

X