www.pojjaman.com

ความสำคัญของ Work Breakdown Structure (WBS) ในงาน ก่อสร้าง

จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : 18,921


Loading

การจัดทำแผนงาน ก่อสร้าง หรือที่เรียกว่า ( Work Breakdown Structure , WBS)

ถือเป็นเรื่องปกติที่โครงการ ก่อสร้าง ทุกที่จะต้องจัดทำ Work Breakdown Structure เพื่อกำหนดขอบเขตของการทำงานอย่างมีระบบ สร้างระบบในการประเมินราคาและปริมาณของวัสดุที่ใช้ในการ ก่อสร้าง ทั้งหมด จัดระบบการจัดเก็บข้อมูลและการรายงานข้อมูลสำหรับผู้บริหาร และช่วยจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในงานประเภทต่างๆ แต่ความแตกต่างกันของแต่ละโครงการ ก่อสร้าง ก็คือ ความละเอียดในแผนงานนั่นเอง เพราะยิ่งมีรายละเอียดที่ชัดเจนมากเท่าไหร่ก็จะทำให้การประเมิน หรือแผนที่วางไว้ในด้านต่างๆทั้งคนงาน วัสดุ อุปกรณ์ ช่าง รวมไปถึงผู้รับเหมาช่วงด้วยเป็นระบบมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากแผนงานไม่ละเอียดเพียงพอก็จะทำให้การทำงานอาจเกิดความผิดพลาดได้ การสั่งของอาจล่าช้าส่งผลให้งานมีความล่าช้าตาม  คนงานอาจไม่เพียงพอในช่วงที่ต้องเร่งงาน ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย ส่งผลกระทบต่อแผนที่วางไว้ เพราะอาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หลายคนจึงได้แต่เสียดายว่ารู้อย่างนี้แล้วยอมเขียนแผนงานให้ละเอียดดีกว่า จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมา

 

Work Breakdown Structure ที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. เก็บรายละเอียดได้ในระดับที่ต่างกันเพื่อการบริหารงาน

2. มีความสะดวกในการจัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลก่อสร้างต่างๆได้ตามต้องการ ทั้งแรงงาน วัสดุ เครื่องจักร เป็นต้น

3. ข้อมูลสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับฝ่ายอื่นๆภายในองค์กรได้ เช่น ฝ่ายบัญชี ฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น

4. สามารถนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. ในองค์กรต้องให้การยอมรับ และเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

การวางแผนงานให้ละเอียดเพียงอย่างเดียวยังคงไม่พอ เพราะต่อให้เรามีแผนงานที่ละเอียดมากๆ การทำงานมันมักจะไม่เป็นตามแผนไปเสียทุกอย่าง เพราะยังมีวิธีการทำงาน การเปลี่ยนแบบงานของผู้ว่าจ้างที่ส่งผลให้แผนต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด ดังนั้นสิ่งที่ต้องมีอีกหนึ่งอย่างก็คือ แผนสำรอง ซึ่งให้ดูว่างานที่เบรกย่อยออกมานั้นงานไหนสำคัญที่สุดแล้วเสร็จตรงตามกำหนดเวลาหรือไม่ ถ้าหากส่งผลกระทบต่องานอื่นด้วยควรเตรียมแผนสำรองไว้ด้วยเพื่อที่จะได้ปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ทันเวลา

Work Breakdown Structure ที่ดีแล้ว แต่พลาดตรงที่เลือกคนไม่ตรงกับงาน

ก็ส่งผลให้งานล่าช้าหรือไม่เป็นไปตามแผนได้ เพราะการทำงาน ก่อสร้าง นั้นต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายส่วนตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ผู้จัดการโครงการ เจ้าของโครงการ วิศวกร สถาปนิก และงานระบบฯ รวมไปถึงงานส่วนอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นสิ่งที่สำคัญไม่ต่างจากแผนงานก็คือ บุคลากร การมีบุคลากรหรือทีมงานที่ดีนั้นทำให้แผนที่วางไว้ประสบผลสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น หัวหน้างานต้องมีความสามารถที่จะแบ่งงานให้เหมาะสมกับความสามารถของลูกน้อง และตัวของหัวหน้าหรือผู้จัดการโครงการเองนั้นต้องมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี และนำประสบการณ์ที่มีมาใช้ในการทำงาน

การมี Work Breakdown Structure ที่ละเอียดและบุคลากรมีประสิทธิภาพ

ถือว่ามีส่วนต่อการประสบผลสำเร็จขององค์กรอย่างมาก เพราะแผนงานถือว่าเป็นหัวใจของการบริหารงาน ก่อสร้าง และบุคลากรก็มีบทบาทและความสำคัญไม่แพ้กัน ผู้จัดการโครงการต้องวางแผนงาน และแบ่งงานให้เหมาะสมกับความสามารถของลูกน้อง จัดการทำงานให้เป็นระบบเพื่อช่วยให้โครงการก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่น และที่สำคัญคือ ต้องคำนึงถึงการสร้างความปลอดภัยในงานรับเหมาก่อสร้างด้วย หรือการมีตัวช่วยดีๆอย่างโปรแกรมบัญชีรับเหมาก่อสร้าง

“พจมาน 2” โปรแกรมบริหารงาน ก่อสร้าง ออนไลน์

โปรแกรมพจมาน 2 ไม่ได้ใช้แค่ธุรกิจรับเหมา ก่อสร้าง เท่านั้น เป็นระบบบริหารงาน ก่อสร้าง ออนไลน์ที่เหนือกว่า ERP ทั่วไป  มีการเชื่อมโยงการทำงานกับทุกฝ่ายขององค์กรอย่างเป็นระบบ และออกแบบฟังก์ชั้่นมาอย่างเหมาะสมสำหรับการใช้งานของแต่ละฝ่าย จึงใช้งานง่ายและสะดวกมากขึ้น และมีการทำงานบนระบบ Cloud อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรของคุณให้พร้อมก้าวสู่Digital Construction Enterprise เต็มรูปแบบ สามรถใช้งานได้ทุกที่ บนทุก Device ทั้งWindows MAC iOS ANDROID รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ออฟฟิศ หรือที่ไซต์งานก็ตาม  ที่สำคัญออกแบบมาสำหรับธุรกิจก่อสร้างโดยเฉพาะจึงสามารถควบคุมต้นทุน และโฟกัสกำไรของธุรกิจคุณได้อย่างแม่นยำ

เราพร้อมที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของคุณให้เติบโตแบบก้าวกระโดด

 

ความสำคัญของ Work Breakdown Structure (WBS) ในงาน ก่อสร้าง

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้ที่นี่เลยค่ะ ^^

พจมาน 2 คืออะไร

“พจมาน 2” โปรแกรมบริหารงานก่อสร้างที่ตอบโจทย์ทุกฝ่าย

ทำไมต้อง “พจมาน 2”

ปรับแนวคิด เดินหน้าธุรกิจรับเหมาด้วย โปรแกรมบริหารงานก่อสร้าง

อ่านบทความทั้งหมด คลิกเลย

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://bit.ly/2mmAjv2

https://bit.ly/2JuR5l7        https://www.boris.co.th/best-in-construction/

X