www.pojjaman.com

บันได 6 ขั้น สู่นักวางแผนโครงการแบบมืออาชีพ

ระบบ erp
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : 0


บันได 6 ขั้น สู่นักวางแผนโครงการแบบมืออาชีพ

ขึ้นชื่อว่า “ ผู้บริหารโครงการ ” ย่อมหมายถึง ตำแหน่งที่อยู่ยอดบนสุดของโครงการที่มาพร้อมสิ่งที่ต้อง “แบกรับ” ทั้งการวางแผน – ดำเนินงาน – แก้ไขปัญหา – ปรับเปลี่ยน และควบคุม ด้วยความรับผิดชอบ “สูงสุด” ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ  โดยส่วนงานที่สำคัญที่สุด ที่อาจทำให้ตอบได้ทันทีว่างานโครงการนั้นๆ จะสำเร็จ หรือ ล้มเหลว !?
นั่นก็คือ “การวางแผน ”

ส่วนคำว่า มืออาชีพ นั้น คือคำขยายความที่ทุกองค์กรต่างต้องการ แต่ใช่ว่าจะมีกันง่ายๆ เพราะต้องสั่งสมทั้งองค์ความรู้ ความรอบรู้ และประสบการณ์เป็นอย่างสูง โดยเฉพาะกับการวางแผนโครงการ ซึ่งมีรูปแบบ ปัญหา และความซับซ้อนที่แตกต่างกันด้วยองค์ประกอบหลากหลายปัจจัย

POJJAMAN ERP ระบบควบคุมทรัพยากรองค์กร วางแผนโครงการ

POJJAMAN ERP ระบบควบคุมทรัพยากรองค์กร วางแผนโครงการ และโครงสร้างทางบัญชี แบบ Project – based ขอสรุปเป็น บันได 6 ขั้น เพื่อก้าวขึ้นสู่ “นักวางแผนโครงการมืออาชีพ”

บันได ขั้นที่ 1 : Work Breakdown Structure

“ เทคนิคโครงสร้างการแบ่งงาน ” แตกเนื้องาน และการควบคุม จำกัดความรับผิดชอบ  ยิ่งเป็นโครงการมูลค่าสูง มีความเสี่ยงสูง ซับซ้อน และมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกัน ก็ยิ่งต้องแตกโครงสร้างงานออกเป็นหมวดโครงการย่อยๆ โดยละเอียดมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถประเมินเวลา ต้นทุน ควบคุมคุณภาพ จำกัดความเสียหายและความรับผิดชอบได้ชัดเจน รวมถึงการมอบหมายบุคลากรให้ปฏิบัติหน้าที่ได้สอดคล้องกับงานอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยแต่ละหมวดหมู่งาน มีผู้รับผิดชอบหลัก และแตกเป็นหมวดงานย่อย ที่มีเป้าหมาย ต้นทุน ผู้รับผิดชอบส่วนงาน และการวัดผล ลึกลงไป หากส่วนงานใดที่เกิดข้อผิดพลาด หรือไม่เป็นไปตามแผนงาน ก็จะสามารถเข้าแก้ไข ปรับปรุงได้ทันที

หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของ Work Breakdown Structure นี้ คือความละเอียดของแผนงาน (ที่สามารถวัดผลลัพธ์ได้จริง) ผสานกับความถี่ในการวัดผล ไม่ว่าจะเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน รายชั่วโมง หรือแบบ Realtime เลยก็ตาม

บันไดขั้นที่ 2 : Critical Path Method (CPM)

เทคนิคการหาเส้นทางวิกฤต กำหนดกรอบเวลา และจัดสรรตารางงาน  สิ่งที่ต้องมีเหมือนกันในทุกๆ โครงการ ก็คือ “ จุดเริ่มต้นและสิ้นสุด ” ไม่ว่าจะเป็นในภาพรวมทั้งหมดของโครงการ หรือในหมวดงานย่อยของโครงการก็ตาม การวางแผนโครงการ จัดสรร และเฟ้นหาวิธีการที่ใช้เวลาสั้นที่สุด บนต้นทุนที่เหมาะสมและกรอบเวลาที่ชัดเจน จึงเป็นภารกิจหนึ่งของผู้วางแผนโครงการ ที่ต้องให้ความสำคัญ ซึ่งวิธีการนั้น ก็อย่างเช่น  การลดทอน หรือตัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นออก ทำกิจกรรมคู่ขนาน สำหรับงานที่ไม่ได้มีความต่อเนื่องหรือเกี่ยวโยงกัน  การคาดการณ์ข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า เพื่อหาแนวทางป้องกัน หรืออาจหมายถึง การใช้ ทรัพยากรเพิ่ม  เพื่อลดเวลา ก็เป็นได้

บันไดขั้นที่ 3 : Cost Management

“ การบริหารต้นทุนโครงการ ” จัดสรรตามส่วน และควบคุมต้นทุนไม่ให้เกินจากแผนงาน

งานโครงการโดยส่วนใหญ่ มีเป้าหมายรายรับที่ชัดเจน หรือมีการคาดการณ์ที่ค่อนข้างแน่นอน จะมีเพียง “ ความเสี่ยง ” ด้านผลลัพธ์ด้านมิติของคุณภาพ เวลา และต้นทุน ที่จะทำให้ผลกำไรที่คาดการณ์ลดลง ดังนั้นนักวางแผนโครงการ จึงต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก กับการวางแผนงานบริหารต้นทุนที่ครบถ้วน ละเอียด แม่นยำ มีการติดตามวัดผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งควรมีการจัดทำในรูปแบบเชิงรุก

นั่นหมายถึงมีการคาดการณ์ล่วงหน้าโดยละเอียด ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนโครงการ ระหว่างดำเนินการ สิ้นสุดโครงการ ตลอดจนการรับประกันหลังส่งมอบงาน โดยต้องมีการจัดสรรในแต่ละส่วนงานอย่างเหมาะสมตามสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกำหนดไว้ พร้อมกำกับและแจ้งเตือน ในกรณีต้นทุนเกินจากแผนงานโครงการ หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นนั้น ให้มีแผนสำรองหรือแนวทางการแก้ไข เตรียมรับมือไว้ในหลายๆกรณี

บันไดขั้นที่ 4 : Quality Management

“ การบริหารคุณภาพ ” กำหนดผลลัพธ์เชิงคุณภาพที่ต้องการ และขอบเขตความรับผิดชอบ  ผลลัพธ์ด้านคุณภาพ คือตัวแปรตั้งต้นที่สำคัญที่สุด ในการส่งผลกระทบต่อต้นทุนและเวลาของโครงการ ผู้วางแผนโครงการจึงควรกำหนดมาตรฐานการส่งมอบและตรวจสอบคุณภาพงานที่รัดกุม และจำกัดขอบเขตการรับผิดชอบที่แน่นอน โดยอาจแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ตาม Work Breakdown Structure ที่ได้วางไว้ มีการกำหนดรอบในการตรวจสอบ แก้ไข ในความถี่ที่เหมาะสม มีระบบการแจ้งแก้ไข เข้าปรับปรุง และติดตามผลการปรับปรุง ที่มีมาตรฐาน ตรวจสอบย้อนหลังได้ วางตัวผู้รับผิดชอบต่อผลงานอย่างชัดเจน และที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการทำงานซ้ำซ้อนหรือขั้นตอนการตรวจรับคุณภาพงานที่มีหลายขั้นตอนและหลายผู้รับผิดชอบมากเกินไป การบริหารคุณภาพโครงการ เป็นการจัดการองค์กรและกิจกรรมต่างๆโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตรงตาม ความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของเจ้าของโครงการ

บันไดขั้นที่ 5 : Risk Management

“ การบริหารความเสี่ยง ” วิเคราะห์ ประเมิน ควบคุมและวางแผนแก้ไข โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาด เสียหายแก่โครงการ  การวางแผนโครงการ จะเรียกว่าสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีการคาดการณ์และวางแผนจัดการ “ ความเสี่ยง ” ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อโครงการ ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ อีกทั้งยังไม่สามารถคาดการณ์เวลาที่แน่นอน ไม่ว่าจะในแง่การบริหาร – การปฏิบัติงาน – บุคคล – บัญชีและการเงิน

ซึ่งการที่ผู้วางแผนโครงการจะสามารถคาดการณ์และรู้เหตุแห่งความเสี่ยงนั้นๆ ได้ ย่อมต้องมีประสบการณ์ ร่วมกับ “ ชุดข้อมูลที่ถูกเก็บและประมวลผล ” ออกมาได้อย่างละเอียดและแม่นยำ ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ต่อได้ไม่ยาก

ในส่วนนี้หลายองค์กรจึงให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ระบบ ERP เข้ามา เป็นดั่งศูนย์รวมการบันทึก ขออนุมัติ ออกเอกสารต่างๆ ของทุกคนในองค์กร เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บข้อมูลที่กระจัดกระจาย ตกหล่น ซ้ำซ้อน และไม่โปร่งใส อีกทั้งยังเรียกข้อมูลประมวลผลออกมา ให้พร้อมนำไปใช้งานต่อได้ทันท่วงที

บันไดขั้นที่ 6 : Improvement

“ แผนพัฒนาทรัพยากรองค์กร ” เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทั้งระหว่างดำเนินการ และหลังสิ้นสุดการดำเนินการ
ด้วยลักษณะการทำงานแบบรายโครงการ แน่นอนว่าโจทย์และผลลัพธ์ที่ต้องการ ย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ แต่เนื้อในนั้น มีโครงสร้าง กรอบกราทำงาน รายละเอียด ในแต่ละองค์ประกอบหลายส่วนที่มีความคล้ายคลึงกัน หรือสามารถทำซ้ำได้

ดังนั้น “ การพัฒนา ” จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรเติบโตขึ้น และมีส่วนเกี่ยวข้องทางตรงกับนักวางแผนโครงการ ที่จะต้องนำแผนพัฒนาทรัพยากรให้เข้ามามีบทบาททั้งในระหว่างดำเนินโครงการ หลังสิ้นสุดโครงการ และก่อนที่จะเริ่มในโครงการถัดไป

ตัวอย่างทรัพยากรองค์กรที่สามารถพัฒนาได้ ยกตัวอย่างเช่น ฝีมือแรงงาน Softskill & Mindset การบริหาร Logistic การจัดการสินค้าคงคลัง ระบบบัญชีภาษีอากร ไปจนถึงงานวางแผนกระแสเงินสด (Cash flow) ซึ่งแต่ละองค์กรอาจมีการวางแผนและลำดับงานในส่วนของการพัฒนาที่แตกต่างกัน โดยอาจแบ่งเป็นช่วงๆ ตามระยะเวลาและความสำคัญแต่ละส่วนงาน

โดยท้ายที่สุดแล้ว ก่อนจะสามารถวางแผนพัฒนาทรัพยากรได้ สิ่งที่นักวางแผนควรระบุอย่างชัดเจน คือ “ การวัดผลลัพธ์ ” ที่ผ่านการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ถูกต้องเป็นสัดเป็นส่วน เพื่อวางแผนพัฒนาและส่งแผนต่อให้แก่ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง ควบคุมและติดตาม

โดยท้ายที่สุดแล้ว ก่อนจะสามารถวางแผนพัฒนาทรัพยากรได้ สิ่งที่นักวางแผนควรระบุอย่างชัดเจน คือ “ การวัดผลลัพธ์ ” ที่ผ่านการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ถูกต้องเป็นสัดเป็นส่วน เพื่อวางแผนพัฒนาและส่งแผนต่อให้แก่ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง ควบคุมและติดตาม

POJJAMAN ERP ระบบบริหารจัดการทรัพยากรที่ตอบโจทย์โดยเฉพาะ กับธุรกิจที่มีการบริหารแบบรายโครงการ เพื่อให้ข้อมูลและระบบบัญชีสำหรับการบริหารองค์กรถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส และมีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับแก่คู่ค้า นักลงทุน ผู้ตรวจสอบบัญชี ไปจนถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก้าวต่อไปขององค์กรคุณ เลือกใช้ POJJAMAN ERP

ชมรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อได้ https://www.pojjaman.com/project-based-erp/

X